ลูกจ้างลักทรัพย์นายจ้างกับยักยอกทรัพย์นายจ้าง ต่างกันอย่างไร

ลูกจ้างลักทรัพย์นายจ้างกับยักยอกทรัพย์นายจ้าง ต่างกันอย่างไร

๑.ยักยอกทรัพย์นายจ้าง เป็นกรณีที่ลูกจ้างต้องมีตำแหน่งหน้าที่ที่จะต้อง ”ครอบครองทรัพย์” ของนายจ้างไว้ และเบียดบังหรือนำทรัพย์นั้นไป เช่น มีหน้าที่ส่งของและเก็บเงินจากลูกค้ากดต่างจังหวัดและนำเงินมามอบให้นายจ้าง

๒.สลักทรัพย์นายจ้างนั้น เป็นกรณีที่ลูกจ้างไม่มีสิทธิหน้าที่ในการ ครอบครองทรัพย์ของนายจ้างแต่ลักเอาไป เช่น ลูกจ้างตำแหน่งพนักงานบัญชี ไม่มีหน้าที่ในการเก็บเงินและครอบครองเงินไว้ แต่ลักเอาเงินของนายจ้างไป

ซึ่ง การยักยอกทรัพย์ต้องดูว่ามีการ “ครอบครองทรัพย์” นั้นไว้หรือไม่ หากไม่มีการครอบครองก็ไม่ใช่ยักยอก

ในคดียักยอกทรัพย์นั้นเป็นความผิดอันยอมความได้ แต่ ลักทรัพย์นายจ้าง เป็นคดีอาญาแผ่นดิน

 

ตัวอย่างฎีกาศาลตัดสินว่าเป็นลักทรัพย์ ”ไม่เป็นการครอบครอง” ทรัพยของนายจ้าง

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 950/2530จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกจ้างของกรมชลประทาน ได้รับคำสั่งให้ไปควบคุมเครื่องดันน้ำโดยกรมชลประทานส่งน้ำมันที่ใช้กับเครื่องดันน้ำให้ และมีเจ้าหน้าที่ไปควบคุมดูแลการปฏิบัติงานและตรวจสอบการใช้น้ำมันทุกวันน้ำมันดังกล่าวยังอยู่ในความครอบครองของกรมชลประทาน เมื่อจำเลยทั้งสองเอาน้ำมันไปขายจึงมีความผิดฐานลักทรัพย์ (ประชุมใหญ่ครั้งที่4/2530)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10369/2559  จำเลยขายสินค้าของผู้เสียหายได้รับเงินค่าสินค้ามา แทนที่จำเลยจะรวบรวมนำส่งเงินไปฝากธนาคาร แต่จำเลยนำเงินนั้นไปเป็นของจำเลยแล้วใช้วิธีการเปลี่ยนแปลงรายการสินค้าในระบบคอมพิวเตอร์เพื่อให้ยอดสินค้าในระบบคอมพิวเตอร์ตรงกับจำนวนเงินที่ผู้เสียหายควรได้รับมาจากการจำหน่าย #อันเป็นวิธีการที่ผู้เสียหายจะไม่ทราบว่าจำเลยไม่ได้นำส่งเงินเข้าบัญชีธนาคารของผู้เสียหาย ต่อเมื่อตรวจสอบสต๊อกสินค้าแล้วจึงจะทราบว่าจำนวนสินค้าไม่ตรงกับจำนวนเงินที่มีการจำหน่าย ดังนี้เงินที่จำเลยรับมาจากลูกค้าซึ่งได้จากการจำหน่ายสินค้า เป็นการรับเงินไว้ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะของลูกจ้างของผู้เสียหาย เพียงแต่ให้จำเลยยึดถือไว้ชั่วคราวอำนาจในการครอบครองควบคุมดูแลทรัพย์สินยังเป็นของนายจ้างผู้เสียหายไม่ได้ส่งมอบการครอบครองให้แก่จำเลย เมื่อจำเลยเอาเงินของผู้เสียหายไป #จึงเป็นการเอาเงินไปโดยเจตนาทุจริตเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ของผู้เสียหายที่เป็นนายจ้างตาม ป.อ. มาตรา 335(11) วรรคแรก มิใช่ความผิดฐานยักยอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2387/2564  จำเลยเป็นลูกจ้างผู้เสียหาย มีหน้าที่ขายรถยนต์ให้ลูกค้าของผู้เสียหายและเก็บเงินจากลูกค้าไม่ว่าจะเป็นเงินค่าจองรถ ค่าดาวน์รถกับค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เกี่ยวกับการซื้อขายรถซึ่งได้รับจากลูกค้าที่ซื้อรถจากผู้เสียหาย เงินจำนวนต่าง ๆ ที่จำเลยรับไว้จากลูกค้า เป็นการรับเงินไว้ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ในฐานะลูกจ้างผู้เสียหาย ซึ่งมีหน้าที่ติดต่อกับลูกค้าผู้มาซื้อรถ จำเลยเพียงแต่รับเงินและยึดถือไว้ชั่วคราวก่อนจะนำส่งมอบให้ผู้เสียหายเท่านั้น อำนาจในการครอบครองควบคุมดูแลเงินดังกล่าวจึงเป็นของผู้เสียหาย เมื่อจำเลยรับเงินจากลูกค้าของผู้เสียหายรวม 7 ครั้งแล้วเอาเงินดังกล่าวไปโดยทุจริต การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ที่เป็นของนายจ้างตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (11) วรรคแรก

ตัวกย่างฎีกากรณียักยอกทรัพย์นายจ้างเพราะมีการ”ครอบครอง”ทรัพยของนายจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2250/2544 โจทก์ร่วมส่งสินค้ามาฝากขายที่ห้างสรรพสินค้าแล้วจำเลยซึ่งเป็นผู้ขายและเป็นพนักงานของโจทก์ร่วมประจำห้างสรรพสินค้านั้นเบียดบังยักยอกเอาเงินค่าสินค้าไปเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมได้รับความเสียหายไม่ได้รับเงินค่าสินค้าดังกล่าว โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) มีอำนาจร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยได้

จำเลยครอบครองสินค้าของโจทก์ร่วม ได้ขายสินค้าให้แก่ลูกค้าโดยไม่ผ่านพนักงานเก็บเงินของห้างสรรพสินค้าและไม่ออกใบเสร็จรับเงิน แล้วนำเงินค่าซื้อสินค้าจากลูกค้าไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวโดยไม่ส่งให้โจทก์ร่วม เป็นการเบียดบังทรัพย์ของโจทก์ร่วมไปเป็นของจำเลยหรือบุคคลที่สามโดยทุจริตจึงมีความผิดฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 352 วรรคหนึ่ง

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2218/2532จำเลยเป็นพนักงานพิธีการสินเชื่อของธนาคาร ก. มีหน้าที่รับชำระหนี้แทนธนาคาร ก. เงินที่จำเลยรับไว้เป็นของธนาคาร ก.จำเลยเบียดบังเอาเงินนั้นไปเป็นของตนโดยทุจริต เป็นความผิดฐานยักยอก ธนาคาร ก. เป็นผู้เสียหาย

การไปรับฝากเงินนอกสถานที่เป็นกิจการของธนาคารที่มอบหมายให้จำเลยกระทำ จำเลยจึงเป็นตัวแทนของธนาคาร ก..

 หลักกฎหมาย ป.อาญา

มาตรา ๓๕๒  ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานยักยอก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

               ถ้าทรัพย์นั้นได้ตกมาอยู่ในความครอบครองของผู้กระทำความผิด เพราะผู้อื่นส่งมอบให้โดยสำคัญผิดไปด้วยประการใด หรือเป็นทรัพย์สินหายซึ่งผู้กระทำความผิดเก็บได้ ผู้กระทำต้องระวางโทษแต่เพียงกึ่งหนึ่ง

มาตรา ๓๓๕  ผู้ใดลักทรัพย์  (๑๑) ที่เป็นของนายจ้างหรือที่อยู่ในความครอบครองของนายจ้าง

ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท

 

 

ปรึกษาคดียักยอกหรือลักทรัพย์นายจ้าง โทร ๐๘๖๔๐๓๑๔๔๗ ไอดีไลน Kobkiatlaw

Visitors: 144,177