การฟ้องขอให้จดทะเบียนรับรองบุตรหรือรับเด็กเป็นบุตรทำอย่างไร

การฟ้องขอให้รับรองบุตรหรือรับเด็กเป็นบุตร

           เนื่องจากเด็กที่เกิดกับหญิงที่มิได้จดทะเบียนสมรสกับชายซื่อเป็นพ่อเด็ก ถือว่าเด็กเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายหญิงฝ่ายเดียว ดังนั้น  จึงออาจทำมารดาของเด็ก หรือบุตรเสียสิทธิตามกฎหมายหลายประการ เช่นสิทธิในการได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดู ความไม่ชัดเจนในการเป็นทายาทที่จะได้รับมรดกของบิดา ความไม่สะดวกในการเข้าโรงเรียน สิทธิเรื่องภาษีอากร  เป็นต้น  

             ซึ่งกรณีดังกล่าว กฎหมายกำหนดให้สามารถร้องต่อศาลให้พิพากษาว่าเป็นบุตรได้ หาก บิดาและมารดาไม่สามารถไปจดทะเบียนรับรองบุตรด้วยความสมัครใจหรือกรณี บุตรยังเป็นเด็กอายุไม่ถึง ๘ ปี ยังไม่สามารถให้ความยินยอมได้

 

ประโยชน์ของการจดทะเบียนรับรองบุตร เช่น

1 ทำให้บุตรที่ยังเป็นผู้เยาว์อายุไม่เกิน ๒๐ ปี มีสิทธเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู จากบิดา เช่น ค่ากินอยู่ ค่าเล่าเรียน ค่ารักษาพยาบาล ฯลฯ

2 ทำให้เกิดความสะดวกในการติดต่อราชการ เช่น การขอรับเงินบำเน็จตกทอด หรือเงินอื่น กรณีบิดาเป็นข้าราชการ และเสียชีวิต

3 ทำให้ปราศจากข้อโต้แย้งจากทายาทอื่น เมื่อเด็กใช้สิทธิรับมรดกของบิดา

4 สิทธิในการขอลดหย่อนภาษี

 

เอกสารทั่วไป ที่ต้องใช้ในการยื่นคำร้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัว มีอะไรบ้าง เช่น

1 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน ของพ่อและแม่เด็ก

2 สำเนาสูติบัตรบุตร

3 สำเนาใบเปลี่ยนชื่อสกุล พ่อ แม่และ เด็ก (ถ้ามี)

4 หนังสือแสดงเจตนาให้ความยินยอมของมารดา ( กรณีบิดาเป็นผู้ร้อง)

5 ภาพถ่ายที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ ถึงการเป็น พ่อและแม่ เด็ก เช่น ภาพถ่ายตอนไป เยี่ยมที่โรงพยาบาลตอนคลอดบุตร  รูปคู่พ่อเด็ก กับเด็ก รูปครอบครัวฯลฯ

6 เอกสารการส่งเลียเล่าเรียน

7 ผลตรวจดีเอ็นเอ (ถ้ามี)

8 เอกสารหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างพ่อและแม่เด็ก

9 อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

 

ประเด็นคำพิพากษาฎีกาเรื่องการรับรองบุตร ที่น่าสนใจ

 

บิดาไปแจ้งเกิดโดยระบุว่าตนเองเป็นบิดา ให้อยู่ในทะเบียนบ้าน แสดงว่ารับรองว่าเป็นบุตรโดยพฤติการณ์แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3741/2533   การที่ ผู้ตาย เป็นผู้ไปแจ้งการเกิดของโจทก์โดยระบุว่าตนเองเป็นบิดา ยินยอมรับโจทก์ว่าเป็นบุตรอยู่ในทะเบียนบ้าน และระหว่างสงครามก็พาโจทก์และภรรยาอพยพครอบครัวไปด้วยกัน พฤติการณ์แสดงว่าโจทก์เป็นบุตรที่ ผู้ตาย รับรองแล้ว

 

จะฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร พร้อมกับฟ้องขอรับรองบุตร พร้อมกันในคดีเดียวก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2268/2533    ป.พ.พ. มาตรา 1556 วรรคสอง ให้อำนาจเด็กฟ้องคดีให้รับรองเด็กเป็นบุตรได้เองโดยเฉพาะ ขณะยื่นฟ้องเด็กซึ่งเป็นโจทก์ก็ยังไม่เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลย คดีของโจทก์จึงไม่เป็นคดีอุทลุมไม่ต้องห้ามมิให้ฟ้องคดีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1562 ส่วนฟ้องของโจทก์ในเรื่องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู ซึ่งเป็นผลหลังจากที่มีการรับรองความเป็นบุตรของโจทก์แล้ว และเป็นเรื่องต่อเนื่องจากการรับรองบุตร โจทก์จึงไม่ต้องห้ามมิให้ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูด้วย

 

การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร ทำเป็นคำฟ้องหรือคำร้องก็ได้ เว้นแต่บิดาเสียชีวิตต้องยื่นเป็นคำร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5505/2537   การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรในกรณีที่ชายผู้ถูกกล่าวอ้างว่าเป็นบิดาได้ถึงแก่ความตายไปก่อนเสนอคดีนั้น จะเสนอคดีเป็นคำฟ้องโดยยื่นคำฟ้องผู้ที่ถึงแก่ความตายไปแล้วไม่ได้ เพราะไม่มีตัวความที่จะฟ้องเป็นจำเลยและในเบื้องต้นก็ยังไม่ทราบว่าจะมีผู้ใดคัดค้านหรือไม่ การเริ่มคดีในชั้นแรกจึงต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทขึ้นมาก่อน เมื่อมีผู้มีส่วนได้เสียร้องคัดค้านขึ้นมา ศาลจึงจะดำเนินคดีต่อไปอย่างคดีมีข้อพิพาท

 

กฎหมายครอบครัวมาตราที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 1546 เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น

มาตรา 1547 เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลังหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร

มาตรา 1548 บิดาจะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้ต่อ เมื่อได้รับความยินยอมของเด็กและมารดาเด็ก

     ในกรณีที่เด็กและมารดาเด็กไม่ได้มาให้ความยินยอมต่อหน้านายทะเบียน ให้นายทะเบียนแจ้งการขอจดทะเบียนของบิดาไปยังเด็กและมารดาเด็ก ถ้า เด็กหรือมารดาเด็กไม่คัดค้านหรือไม่ให้ความยินยอมภายใน 60 วันนับแต่การ แจ้งนั้นถึงเด็กหรือมารดาเด็ก ให้สันนิษฐานว่าเด็กหรือมารดาเด็กไม่ให้ความยินยอม ถ้าเด็กหรือมารดาเด็กอยู่นอกประเทศไทยให้ขยายเวลานั้นเป็น 180 วัน

     ในกรณีที่เด็กหรือมารดาเด็กคัดค้านว่าผู้ขอจดทะเบียนไม่ใช่บิดา หรือไม่ให้ความยินยอม หรือไม่อาจให้ความยินยอมได้ การจดทะเบียนเด็กเป็นบุตร ต้องมีคำพิพากษาของศาล

     เมื่อศาลได้พิพากษาให้บิดาจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรได้ และบิดาได้นำคำพิพากษาไปขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียน ให้นายทะเบียนดำเนินการจดทะเบียนให้

มาตรา 1555  ในคดีฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้

(3) เมื่อมีเอกสารของบิดาแสดงว่าเด็กนั้นเป็นบุตรของตน

(4) เมื่อปรากฏในทะเบียนคนเกิดว่าเด็กเป็นบุตรโดยมีหลักฐานว่าบิดาเป็นผู้แจ้งการเกิดหรือรู้เห็นยินยอมในการแจ้งนั้น

(5) เมื่อบิดามารดาได้อยู่กินด้วยกันอย่างเปิดเผยในระยะเวลาซึ่งหญิงมารดาอาจตั้งครรภ์ได้

(6) เมื่อได้มีการร่วมประเวณีกับหญิงมารดาในระยะเวลาซึ่งหญิงนั้นอาจตั้งครรภ์ได้ และมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเด็กนั้นมิได้เป็นบุตรของชายอื่น

 

(7) เมื่อมีพฤติการณ์ที่รู้กันทั่วไปตลอดมาว่าเป็นบุตร พฤติการณ์ที่รู้กันทั่วไปตลอดมาว่าเป็นบุตรนั้น ให้พิจารณาข้อเท็จจริงที่แสดงความเกี่ยวข้องฉันบิดากับบุตรซึ่งปรากฏในระหว่างตัวเด็กกับครอบครัวที่เด็กอ้างว่าตนสังกัดอยู่ เช่น บิดาให้การศึกษา ให้ความอุปการะเลี้ยงดูหรือยอมให้เด็กนั้นใช้ชื่อสกุลของตนหรือโดยเหตุประการอื่น ในกรณีใดกรณีหนึ่งดังกล่าวข้างต้น ถ้าปรากฏว่าชายไม่อาจเป็นบิดาของเด็กนั้นได้ ให้ยกฟ้องเสีย

 

ตัวอย่างคำสั่งศาลร้องขอรับรองบุตร( กรณีอุ้มบุญ)

ตัวอย่างรายงานกระบวณพิจารณา กรณีไกล่เกลี่ยและตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความ

ติดต่อทนายคดีรับรองบุตร โทร 0864031447

ไลน์ไอดี Kobkiatlaw

คิวอาร์โค้ต

Visitors: 144,166