ทนายความคดีความผิดฐานรับของโจร

ความผิดฐานรับของโจร

มาตรา 357 ผู้ใดช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำหรือรับไว้โดยประการใด ซึ่งทรัพย์อันได้มาโดยการกระ ทำความผิดถ้าความผิดนั้นเข้าลักษณะลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ กรรโชก รีด เอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกง ยักยอกหรือ เจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานรับของโจรต้อง ระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้ง จำทั้งปรับ

ถ้าการกระทำความผิดฐานรับของโจรนั้น ได้กระทำเพื่อค้ากำไร หรือได้กระทำต่อทรัพย์อันได้มาโดยการลักทรัพย์ตาม มาตรา 335 (10) ชิงทรัพย์หรือปล้นทรัพย์ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ หกเดือนถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงสองหมื่นบาท

        ถ้าการกระทำความผิดฐานรับของโจรนั้น ได้กระทำต่อทรัพย์ อันได้มาโดยการลักทรัพย์ตามมาตรา 335ทวิ การชิงทรัพย์ตาม มาตรา 339ทวิ หรือการปล้นทรัพย์ตาม มาตรา 340ทวิ ผู้กระทำ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่น บาทถึงสามหมื่นบาท

 

ข้อต่อสู้คดีรับของโจร

           องค์ประกอบความผิดฐานรับของโจรนั้น  ที่สำคัญจะต้องเป็นการกระทำโดยเจตนา กล่าวคือ ผู้กระทำผิดจะต้องรู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 59 วรรคสาม ว่าทรัพย์ที่ได้มานั้นเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิด ไม่ใช่ว่าแค่ทรัพย์ของผู้อื่นมาอยู่ในครอบครองของเราแล้วจะเป็นการรับของโจรในทันที  กล่าวคือ จะต้องรู้ว่าทรัพย์สินนั้นเป็นของโจร  หากไม่รู้ว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิด ถือว่าขาดเจตนาในทางกฎหมายอาญาจะไม่เป็นความผิด 

          ซึ่งการจะรู้หรือไม่รู้ข้อเท็จจริง หรือ มีเจตนารับของโจรหรือไม่นั้น  ศาลจะพิจารณาจากพฤติการณ์ต่าง ๆ เช่น ราคาทรัพย์สินที่รับซื้อมาต่ำผิดปกติหรือไม่ หรือมีรอยมีร่องรอยการโจรกรรม เช่น รถมอเตอร์ไซค์ซื้อมามีรอยงัดเบ้ากุญแจ  ไม่มีแม่กุญแจ มีการตีเลขทะเบียนปลอม  มีราคาถูกกว่าท้องตลาดมากทั้งๆที่มีราคาแพง   มีการเปลี่ยนแปลงสภาพของทรัพย์อย่างมีนัย  อาวุธปืนที่ซื้อมามีการขูดลบเลขทะเบียน  ผู้ขายทรัพย์ซึ่งมีทะเบียนไม่มีเอกสารทางทะเบียนมาแสดง เป็นต้น  เช่นนี้ ผู้ที่รับซื้อหรือรับทรัพย์นั้นมาย่อมจะต้องรู้ได้ว่าทรัพย์สินนั้นน่าจะเป็นของที่ได้มาโดยผิดกฎหมาย และเป็นการยากที่จะปฎิเสธในข้อนี้ได้  ซึ่ง ความผิดฐานรับของโจรนี้ผู้เขียนพบเห็นว่าส่วนมากศาลชั้นต้นจะพิพากษาตัดสินโดยไม่รอการลงโทษจำเลยโดยไม่รอการลงโทษ เพราะกฎหมายจะมองว่าการรับของโจรเป็นการสนับสนุนหรือก่อให้เกิดการกระทำความผิด ลัก วิ่ง ชิง ปล้น ฯ

 

คำพิพากษาศาลฎีกา 287 / 2540 คดีเกี่ยวกับความผิดฐานรับของโจรนั้นข้อสำคัญคือต้องนำสืบให้เห็นว่าจำเลยรับซื้อไว้โดยรู้ว่าเป็นทรัพย์สินอันได้มาโดยกระทำความผิดกรณีของจำเลยเมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมายืนยันให้เห็นว่าจำเลยได้รับรถจักรยานยนต์ซึ่งเป็นซับของผู้เสียหายที่ถูกคนร้ายลักเอา ไปไว้โดยรู้ว่าเป็นทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิด  จะอาศัยพฤติการณ์ที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายไปจากบ้านของ ส. โดยคิดหรือคาดคะเนเอาว่าจำเลยได้ครอบครองหรือช่วยจำหน่ายรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายแล้วฟังว่าจำเลยกระทำความผิดหาได้ไม่

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6771 / 2542 การที่จำเลยอ้างว่าดับจำนำอาวุธของกลางซึ่งถูกคนร้ายรักไปไว้จากตอ. ซึ่งมีอายุเพียง 16 ปีและไม่เคยรู้จักกับจำเลยมาก่อนโดยไม่ได้ขอดูหลักฐานใบอนุญาตให้มีและใช้ อาวุธปืนของบิดาต่อ. และรับจำนำไว้ในราคาเพียง 3500 บาททั้งที่จำเลยนำไปขายต่อยังได้ราคาถึง 10,000 บาทแสดงว่าจำเลยรับจำนำไว้ในราคาที่ต่ำผิดปกติและมีพิรุธ ตั้งอาวุธปืนดังกล่าวมีร่องรอยการขุดลบหมายเลขทะเบียนไม่สามารถอ่านได้แสดงว่าอาวุธปืนดังกล่าวถูกเปลี่ยนมือไปในลักษณะที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงมีการขูดลบหมายเลขทะเบียนเพื่อทำลายหลักฐานศให้เห็นว่าจำเลยรับอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนดังกล่าวไว้โดยรู้ว่าเป็นซับที่ได้มาจากการกระทำ ผิดจำเลยจึงมีความผิดฐานรับของโจร

 

นอกจากนี้ข้อต่อสู้ก็คงเป็นเรื่อง ทรัพย์ที่ได้มานั้นไม่ได้มีที่มาจากการกระทำความผิด ฐานลักทรัพย์ วิ่งราว ชิงทรัพย์ หรือยักยอก ฯลฯ ซึ่งเป็นความผิดมูลฐานซึ่งต้องพิจารณาเป็นเรื่อง ๆ ไป

 

โดย ทนายกอบเกียรติ โทร  086-4031447

Visitors: 146,761