การยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองต่อศาลมีวิธีและขั้นตอนอย่างไร

การบังคับคดีแพ่ง โดยการยื่นขอรับชำระหนี้จำนองต่อศาล 

หลักเกณณ์ เมื่อเจ้าหนี้อื่นฟ้องร้องและยึดทรัพย์ของลูกหนี้ที่ทรัพย์นั้นได้จำนองกับเราไว้แล้ว จะฟ้องยึดทรัพย์นั้นอีกไม่ได้แต่จะต้อง ยื่นขอรับชำระหนี้จำนองต่อศาล ให้ศาลมีคำสั่งให้เข้ารับชำระหนี้จำนองในคดีนั้น ๆ ก่อนเจ้าหนี้สามัญ  ซึ่งโดยปกติแล้วเจ้าหนักงานบังคับคดีเมื่อมีการยึดทรัพย์ลูกหนี้แล้วจะต้องมีหนังสือแจ้งมายังผู้รับจำนองให้ส่งต้นฉบับโฉนดและยื่นขอรับชำระหนี้

 

หลักเกณฑ์การยื่นจะต้องประกอบด้วย

๑.ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาถูกเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้ก่อนแล้ว

๒. ผู้ร้องต้องเป็นผู้รับจำนองทรัพย์สินหรือเป็นผู้ทรงบุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์อันได้จดทะเบียนไว้

๓. ต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดี

๔.ต้องยื่นก่อน จพค.เอาทรัพย์สินนั้นออกขายหรือจำหน่าย

๕. ต้องขอให้ศาลมีคำสั่งขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีนำเงินที่ได้จากการขายหรือจำหน่ายทรัพย์สินนั้นมาชำระหนี้แก่ตนก่อนเจ้าหนี้อื่น

เอกสารที่ต้องใช้

๑.โฉนดที่ดิน

๒.สัญญาจำนอง

๓.ยอดหนี้จำนอง

๔.เอกสารการบังคับคดีของกรมบังคับคดี เช่น รายงานการยึดทรัพย์ หนังสือขอให้ส่งโฉนดของเจ้าพนักงานพังคัดบคดีที่ส่งถึงเรา

 

หลักกฎหมาย

มาตรา ๓๒๔ บุคคลใดมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้หรือได้รับส่วนแบ่งจากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดหรือจำหน่ายโดยวิธีอื่นซึ่งทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้โดยอาศัยอำนาจแห่งทรัพยสิทธิ บุริมสิทธิ สิทธิยึดหน่วง หรือสิทธิอื่นซึ่งบุคคลนั้นมีอยู่เหนือทรัพย์สินหรืออาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นตามกฎหมาย ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้

(๑) ในกรณีที่เป็นผู้รับจำนองทรัพย์สินหรือเป็นผู้ทรงบุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์อันได้จดทะเบียนไว้ บุคคลนั้นอาจยื่นคำร้องขอต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีก่อนเอาทรัพย์สินนั้นออกขายหรือจำหน่าย ขอให้มีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้

(ก) ในกรณีที่อาจบังคับเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองหลุด ขอให้เอาทรัพย์สินซึ่งจำนองนั้นหลุด ถ้าศาลมีคำสั่งอนุญาต การยึดทรัพย์ที่จำนองนั้นเป็นอันเพิกถอนไปในตัว

(ข) ในกรณีอื่น ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีนำเงินที่ได้จากการขายหรือจำหน่ายทรัพย์สินนั้นมาชำระหนี้แก่ตนก่อนเจ้าหนี้อื่น ทั้งนี้ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่น

(๒) ในกรณีที่ปรากฏแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีว่าทรัพย์สินซึ่งขายหรือจำหน่ายนั้นเป็นของเจ้าของรวมอันได้จดทะเบียนไว้ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกันเงินส่วนของเจ้าของรวมอื่นนอกจากส่วนของลูกหนี้ตามคำพิพากษาออกจากเงินที่ได้จากการขายหรือจำหน่ายทรัพย์สินนั้นตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๓๔๐

มาตรา ๓๒๒ ภายใต้บังคับมาตรา ๓๒๓ และมาตรา ๓๒๔ บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงทรัพยสิทธิ บุริมสิทธิ สิทธิยึดหน่วง หรือสิทธิอื่นซึ่งบุคคลภายนอกมีอยู่เหนือทรัพย์สินหรืออาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นตามกฎหมาย

 

ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีในศาล หรือค่าธรรมเนียมศาล

๑.กรณีมีการฟ้องร้องบังคับจำนองและมีคำพิพกษาแล้วขอรับชำระหนี้จำนองตามคำพิพากษา ไม่เสียค่าขึ้นศาล

กรณียังไม่ได้มีการฟ้องบังคับจำนอง ค่าขึ้นศาล ร้อยละ ๑ (๑%) ของจำนวนเงินหรือทุนทรัพย์ที่ขอรับชำระหนี้

๒. ค่าขึ้นศาล ๒๐๐ บาท

๓. ค่านำส่งหมายให้แก่คู่ความในคดี เช่น โจทก์ จำเลย และเจ้าพนักงานบังคับคดี ตามอัตราพื้นที่ที่เป็นภูมิลำเนา

๔.ค่าทนายความตามแต่ตกลง

ขั้นตอนและระยะเวลาในการยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนอง

เมื่อยื่นคำร้องแล้ว ศาลจะนัดไต่สวนคำร้องและ ส่งหมายแจ้งให้คู่ความเที่เกี่ยวข้อง เช่นโจทก์ จำเลย เจ้าพนักงานบังคับคดี ทราบ ปกติจะกินเวลาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๔๕ วัน   เมื่อศาลไต่สวนแล้วมีคำสั่งอนุญาต จะส่งคำสั่งแจ้งไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดีตามขั้นตอน หรือผู้รับจำนองอาจคัดคำสั่งศาลนำไปยื่นต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีด้วยตนเองเพื่องความรวดเร็ว  หากขายทอดตลาดได้เงิน จพค.จะแจ้งให้ผู้รับจำนองเข้ารับเงิน ต่อไป 



Visitors: 146,760