การไกล่เกลี่ยยอมความในศาลคดียักยอกทรัพย์ฉ้อโกงและคดีที่ยอมความได้มีขั้นตอนอย่างไร
การไกล่เกลี่ยยอมความในศาลคดียักยอกทรัพย์ ฉ้อโกงและคดีที่ยอมความได้มีขั้นตอนอย่างไร
มีคำถามที่พบบ่อย และประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
๑. ขั้นตอนแรกเริ่มจากเมื่อได้รับหมายศาลนัดไต่สวนมูลฟ้องกรณีผู้เสียหายฟ้องเอง หรือพนักงานอัยการนำตัวไปส่งฟ้องต่อศาล
ในกรณีที่พนักงานอัยการนำตัวไปยื่นฟ้องต่อศาลนั้นโดยปกติจะต้องให้การปฏิเสธในนัดแรกเพื่อจะได้เข้าไกล่เกลี่ยในนัดสอบคำให้การนัดต่อไป ซึ่งผู้เสียหายจะมาศาลด้วย
หากเป็นกรณีผู้เสียหายยื่นฟ้องตรงต่อศาลด้วยตนเองในวันนัดไต่สวนมูลฟ้องควรให้ทนายความไปเจรจาหาแนวทางกับโจทก์ในเบื้องต้นหรือไปซักค้านพยานตามรูปคดีเสียก่อน หากคดีมีมูลศาลประทับรับฟ้องแล้วตัวจำเลยที่ถูกฟ้องจึงเตรียมตัวไปศาลในนัดสอบคำให้การ
๒. กรณีมีหมายนัดไต่สวนมูลฟ้องซึ่งผู้เสียหายยื่นฟ้องเองนัดแรกควรไปศาลด้วยตนเองหรือไม่
คำตอบคือหากท่านสะดวกควรตั้งทนายความเพื่อไปดูแลคดีในนัดแรกในวันนัดไต่สวนมูลฟ้องเพื่อซักค้านหรือหาแนวทางเจรจา เพราะหากเป็นคดีที่ศาลเห็นว่าต้องประกันตัวและศาลสั่งว่าคดีมีมูลในวันดังกล่าวจะถือว่าจำเลยรับทราบคำสั่งแล้ว ตามหลักการก็อาจจะต้องทำการประกันตัวหรือถูกควบคุมตัวได้ หากคดีมีมูลแล้วในนัดถัดมาศาลจะนัดสอบคำให้การและหรือตรวจพยานหลักฐานจำเลยจึงต้องตายในนัดที่สองนี้
๓.ต้องชำระครั้งเดียวหรือผ่อนชำระได้
ขึ้นนอยู่กับผู้เสียหายและ โจกท์ จำเลยที่ตกลงกัน โดยสามารถผ่อนชำระหนี้ได้
๔. กรณีผ่อนชำระหนี้ให้โจกท์หรือผู้เสียหายผ่อนกันได้นานเท่าใด
คำตอบคือแล้วแต่ตกลงกันซึ่งมักขึ้นอยู่กับจำนวนเงินและกำลังใจและความต้องการของโจทก์หรือเจ้าหนี้เป็นหลัก
๕.ชำระเงินคืนแล้วคดีจบ หรือไม่ ต้องติดคุก อีกหรือไม่
ในคดีที่ยอมความได้ หากชำระค่าเสียหายจนผู้เสียหายพอใจแล้วและผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ หรือถอนฟ้องคดีก็เป็นอันจบไปได้
๖.การเจรจายอมความในศาลต้องมีทนายความดูแลคดีหรือไม่
ควรจะต้องมีทนายความเนื่องจากเป็นคดีอาญาซึ่งมีอัตราโทษจำคุกและปรับ ประกอบกับ มีขั้นตอนและเงื่อนแง่ทางกฏหมายหลายอย่าง
๗.หากจำเลยกับผู้เสียหายหรือโจทก์ตกลงกันไม่ได้ จะต้องทำอย่างไร
มีหลายวิธี เช่น หากตกลงกันไม่ได้โดยปกติแล้วทนายมักทำคำให้การ ยื่นคำให้การต่อศาล เป็นคำให้การปฏิเสธสู้คดีเพื่อให้ มีเวลาในการชำระหนี้เพิ่มหรือ ไกล่เกลี่ยในนัดสืบพยาน อีกครั้ง
๘.หากตกลงชำระหนี้กันแล้วต่อมาจำเลยผิดนัดชำระหนี้ในชั้นศาลจะเป็นอย่างไร
คำตอบ คือ โจทก์มีสิทธิแถลงต่อศาลขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาได้ และศาลจะมีหมายแจ้งเพื่อนัดพร้อมหรือฟังคำพิพากษา โดยหากในวันดังกล่าวที่ศาลนัดโจทก์จำเลยยังสามารถตกลงเจรจากันได้หรือศาลเห็นว่าจำเลยยังขวนขวายหรือพยายามชำระหนี้ให้อยู่ แต่มีเหตุจำเป็นที่ต้องผิดนัดจำเลยก็ยัง สามารถชำระหนี้ต่อไปอีกได้ จนกว่าจะครบถ้วน
แต่หากจำเลยไม่ขวนขวายหรือพยายามที่จะชำระหนี้เลยโจทก์ก็อาจขอให้ศาลอ่านคำพิพากษาและศาลอาจพิพากษาลงโทษจำคุกและปรับจำเลยและให้ใช้คืนทรัพย์ตามคำขอท้ายฟ้องได้เช่นกันแล้วแต่กรณี
โทร 0864031447 LINE ID : kobkiatl LINE@ : @811ztyjo