การฟ้องหย่ามีขั้นตอนอย่างไร เรียกร้องเงินหรือทรัพย์สินส่วนใดได้บ้าง เสียค่าใช้จ่ายเท่าไร

การฟ้องหย่ามีขั้นตอนอย่างไร เรียกร้องเงินหรือทรัพย์สินส่วนใดได้บ้าง เสียค่าใช้จ่ายเท่าไร

เหตุที่จะฟ้องหย่าได้มีอะไรบ้าง

เหตุที่จะฟ้องหย่าได้มี ๑๐ ประการ  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๑๖ มีดังต่อไปนี้ คือ

(๑)สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

(๒) สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความผิดอาญาหรือไม่ ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง

(ก) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง

(ข) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภริยาของฝ่ายที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป หรือ

(ค) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ

อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

(๓) สามีหรือภริยาทำร้าย หรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง  ทั้งนี้ ถ้าเป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

(๔) สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

(๔/๑)สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และได้ถูกจำคุกเกินหนึ่งปีในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิดหรือยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามีภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือนร้อนเกินควร อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

๔/๒)สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของศาลเป็นเวลาเกินสามปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

(๕)สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นเวลาเกินสามปีโดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

(๖) สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควรหรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง  ทั้งนี้ ถ้าการกระทำนั้นถึงขนาดที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

(๗) สามีหรือภริยาวิกลจริตตลอดมาเกินสามปี และความวิกลจริตนั้นมีลักษณะยากจะหายได้ กับทั้งความวิกลจริตถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

(๘) สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

(๙) สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่ายหนึ่งและโรคมีลักษณะเรื้อรังไม่มีทางที่จะหายได้ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

(๑๐) สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกายทำให้สามีหรือภริยานั้นไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

 

สามีหรือภริยาติดคุกสามารถฟ้องหย่าได้หรือไม่

        สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และได้ถูกจำคุกเกินหนึ่งปีในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิดหรือยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามีภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้ ถือเป็นเหตุหย่าตาม มาตรา ๑๕๑๖(๔/๑)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11702/2555เหตุหย่าตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๕๑๖(๔/๑) ที่ว่า "สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และได้ถูกจำคุกเกินหนึ่งปีในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิดหรือยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามีภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้" ต้องเป็นกรณีที่โจทก์ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินสมควรในระหว่างระยะเวลาที่จำเลยต้องโทษจำคุกและได้ถูกจำคุกเกิน ๑ ปี หากจำเลยพ้นโทษจำคุกแล้ว ถือไม่ได้ว่าโจทก์จะได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินสมควรเพราะเหตุจำเลยต้องถูกจำคุกอีกต่อไป เมื่อคดีดังกล่าวจำเลยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกและต้องโทษจำคุกเป็นเวลาเกิน ๑ ปีมาแล้ว โดยความผิดดังกล่าวโจทก์มิได้มีส่วนก่อให้เกิดหรือยินยอมรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิด ดังนั้นโจทก์ย่อมฟ้องจำเลยด้วยเหตุหย่าตามมาตรา ๑๕๑๖(๔/๑)ได้ แต่โจทก์ฟ้องคดีหลังจากที่จำเลยถูกจำคุกเกิน ๑ ปี และพ้นโทษมาแล้วเป็นเวลาถึง ๕ ปี ดังนั้นความเสียหายหรือเดือดร้อนของโจทก์จึงยุติลงแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลยโดยอาศัยเหตุตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๕๑๖(๔/๑)

 

ฟ้องหย่าเสียค่าขึ้นศาลเท่าใด 

ค่าขึ้นศาล ๒๐๐ บาท ค่าส่งนำส่งหมายคำคู่ความประมาณ ๕๐๐ ถึง ๗๐๐ บาท แหากมีการฟ้องแบ่งสินสมรสอหรือเรียกค่าเสียหายอหรือค่าทดแทนด้วยเสียค่าขึ้นศาลร้อยละ ๒ ของทุนทรัพย์ที่ฟ้อง

 

การฟ้องหย่ามีสิทธิเรียกร้องอะไรได้อีกบ้าง  เช่น

ค่าอุปการะเลี้ยงดู  >> อ่านหัวข้อการฟ้องเรียกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรจะเรียกได้เท่าไร จนบุตรอายุกี่ปี?

 

ฟ้องหย่าและเรียกค่าเลี้ยงชีพ

ตาม มาตรา ๑๕๒๖ ในคดีหย่าถ้าเหตุแห่งการหย่าเป็นความผิดของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่ฝ่ายเดียว และการหย่านั้นจะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยากจนลง เพราะไม่มีรายได้พอจากทรัพย์สินหรือจากการงานตามที่เคยทำอยู่ระหว่างสมรส อีกฝ่ายหนึ่งนั้นจะขอให้ฝ่ายที่ต้องรับผิดจ่ายค่าเลี้ยงชีพให้ได้ ค่าเลี้ยงชีพนี้ศาลอาจให้เพียงใดหรือไม่ให้ก็ได้ โดยคำนึงถึงความสามารถของผู้ให้และฐานะของผู้รับและให้นำบทบัญญัติมาตรา 1598/39 มาตรา 1598/40 และมาตรา 1598/51 มาใช้บังคับโดยอนุโลม  

มาตรา ๑๕๒๗ ถ้า หย่าขาดจากกันเพราะเหตุวิกลจริตตามมาตรา ๑๕๑๖(๗)หรือเพราะเหตุเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงตามมาตรา ๑๕๑๖(๙) คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งต้องออกค่าเลี้ยงชีพให้แก่ฝ่ายที่วิกลจริตหรือฝ่ายที่ เป็นโรคติดต่อนั้นโดยคำนวณค่าเลี้ยงชีพอนุโลมตามมาตรา ๑๕๒๖

ค่าทดแทนกรณีเป็นชู้ >>

มี ๒ กรณี คือ

๑.ฟ้องเรียกค่าทดแทนจากคู่สมรสอีกฝ่าย และจากหญิงอื่น หรือชู้ ตาม มาตรา ๑๕๒๓ วรรค ๑ โดยจะต้องฟ้องหย่าด้วยจึงจะมีสิทธิเรียกเงินค่าทดแทน

๒.ฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนจากชู้ตามอย่างเดียว  มาตรา ๑๕๒๓ วรรค ๒ โดยไม่จำเป็นต้องฟ้องหย่าด้วย     มาตรา ๑๕๒๓ วรรคสอง

ทั้งนี้ ตามมาตรา ๑๕๒๓ ที่บัญญัติว่า เมื่อศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะเหตุตาม มาตรา ๑๕๑๖(๑) ภริยาหรือสามี มีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากสามีหรือภริยาและจากผู้ซึ่งได้รับการอุปการะเลี้ยงดูหรือยก ย่อง หรือผู้ซึ่งเป็นเหตุแห่งการหย่านั้น

     สามีจะเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งล่วงเกินภริยาไปในทำนองชู้สาวก็ได้และ ภริยาจะเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผย เพื่อแสดงว่าตน มีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาวก็ได้

ฟ้องหย่าและขอแบ่งทรัพย์สิน แบ่งสินสมรส >>>

เมื่อฟ้องหย่าสามารถฟ้องแบ่งสินสมรสด้วยได้ เพราะ ทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสระหว่างสามีภริยา เมื่อหย่ากัน ต้องแบ่งสินสมรสคนละส่วนเท่าๆกัน  ตามป.พ.พ.มาตรา ๑๕๓๓ แต่เมื่อยังไม่ได้แบ่งกัน กรณีจึงต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยเรื่องกรรมสิทธิ์รวม โดยถือว่าและสามี ภริยาเป็นเจ้าของรวมมีส่วนเท่ากัน

          หากหย่าแล้วสามีหรือภริยา ไม่ดำเนินการแบ่งให้ถูกต้อง หรือ ขายทรัพย์สินอันเป็นสินสมรสนั้น ให้แก่บุคคลภายนอก โดยอีกฝ่ายไม่ไม่ได้ให้ความยินยอมด้วย  แม้บุคคลภายนอกนั้นจะรับซื้อโดยสุจริตก็ตาม ก็ไม่มีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ในส่วนของ อีกฝ่ายที่ไม่ได้ยินยอม ตาม ปพพ.มาตรา ๑๓๖๑ วรรคสอง ฝ่ายที่เสียหายจึงสามารถฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายสินสมรสระหว่างคู่สมรสฝ่ายนั้นและบุคคลภายนอกได้ โดยไม่มีกำหนดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา ๑๓๓๖


ฟ้องหย่าใช้เวลานานหรือไม่

เมื่อทนายความยื่นฟ้องต่อศาลศาลจะนัดพิจารณาคดีครั้งแรก ไม่น้อยกว่า ๔๕ วัน  หรือ ประมาณ ๒ ๓ เดือน ขึ้นอยู่กับจำนวนคดีของศาล หากไม่มีการสู้คดีหรือสามารถไกล่เกลี่ยเจรจาตกลงกันได้ อาจใช้เวลา ๓ ถึง ๔ เดือน หากมีการเจรจาหลายครั้งหรือตกลงกันไม่ได้หรือจำเลยต่อสู้คดี อาจใช้เวลา ประมาณ ๖ เดือน หรืออาจใช้เวลาถึง ๑ ปี ก็ได้ในศาลชั้นต้น


ฟ้องหย่าต้องใช้เอกสารหลักฐานอะไรบ้าง

หลักฐาน เช่น ๑.ทะเบียนสมรส ๒.สำเนาทะเบียนบ้าน บัตรประชาชน  ๓.เอกสารของบุตร เช่น สูติบัตร  ๔.หลักฐานที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องหย่า เช่น ภาพถ่ายเกี่ยวกับการมีชู้  ,หลักฐานการถูกทำร้ายร่างกาย ใช้ ใบรับรองแพทย์ รูปถ่าย ,บันทึกประจำวัน ,หรือหลักฐานการทิ้งร้างเลิกรากัน เช่น พยานบุคคลที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น  ๕.กรณีมีการขอแบ่งสินสมรสด้วย เช่น ทะเบียนทรัพย์สินนั้น ๆ  โฉนดที่ดิน เล่มทะเบียนรถยนต์ สมุดบัญชีธนาคาร  เอกสารการประกอบธุรกิจร่วมกัน ฯลฯ ๖.หากฟ้องหย่าเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรด้วย ก็จะต้องมีหลักฐานเกี่ยวกับบุตร สูติบัตร ค่าใช้จ่ายบุตร

 

ค่าทนายความฟ้องหย่าส่วนมากคิดอย่างไร

ส่วนมากที่เห็นจะอยู่ที่ ๒๐,๐๐๐ ถึง ๕๐,๐๐๐ บาท แล้วแต่ความยากง่าย ข้อเท็จจริงในคดี และพื้นที่ศาล หากมีเรื่องสินสมรสหรือเรื่องค่าเลี้ยงดูด้วย ก็อาจจะมีประเด็นเพิ่กขึ้นและอาจจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นตามลำดับ


ขั้นตอนการฟ้องหย่า โดยสรุป

๑.เรียบเรียงและนำข้อเท็จจริงงที่เกิดขึ้นมาปรึกษาทนายความ

๒.รวบรวมพยานหลักฐานเอกสาร ที่เกี่ยวข้องนำมาให้ทนายความ เซ็นต์เอกสารแต่งตั้งทนายและสัญญาจ้างว่าความ

๓. ทนายความจัดทำคำฟ้องยื่นต่อศาลที่มีเขตอำนาจ

๔. ศาลนัดพิจารณาคดี ตาม ป.วิธีพิจารณาความแพ่งและ พรบ.วิธีพิจารณาคดีครอบครัวฯ

๕.ศาลพิพากษาโดยวินิจฉัยชี้ขาดตัดสินคดี หรือ พิพากษาตามยยอมที่คู่ความตกลงกัน

๖. นำคำพิพากษาหรือคำพิพากษาตามยอม พร้อมหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด ไปใช้จดทะเบียนหย่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง

 

ติดต่อทนายความ  โทร 0864031447 

ไลนไอดี Kobkiatlaw

 

ไลน์คิวอาร์โค้ด

 

Visitors: 146,730