หมายศาลคดีต่างๆ ผลทางกฎหมายและหลักวิธีปฎิบัติเมื่อได้รับหมายต้องทำอย่างไร

หมายศาลเป็นอย่างไร ผลทางกฎหมายและหลักวิธีปฎิบัติเมื่อได้รับหมายต้องทำอย่างไร

หมายศาลคดีแต่ละประเภทจะมีชื่อหมายนั้น ๆ อยู่ที่มุมด้านซ้ายของหน้าหมาย

๑.หมายเรียกและสำเนาคำฟ้องคดีแพ่ง

๑.๑ หมายเรียกคดีแพ่งสามัญ หากท่านถูกฟ้องเป็นจำเลยหน้าที่ต้องทำคำให้การเป็นหนังสือยื่นต่อศาลภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับหมาย  แต่หากท่านไม่ได้เซ็นต์รับหมายศาลจะทำการปิดหมายไว้ ณ ภูมิลำเนาของจำเลย ซึ่งจะถือว่าจำเลยได้รับหมายเรียกเมื่อพ้นกำหนด ๑๕ วันนับแต่วันปิดหมาย ( ๑๕ บวก ๑๕ ) จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องยื่นคำให้การต่อสู้คดีภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ปิดหมาย  หากจำเลยมิได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีภายในกำหนด จะหมดสิทธิในการต่อสู้คดี อันมีผลให้แพ้คดีโดยขาดนัดยื่นคำให้การ โดยศาลจะตัดสินคดีโจทก์ไปผ่ายเดียว

ลักษณะหมายศาลคดีแพ่งสามัญ 

 

๑.๒ หมายเรียกคดีมโนสาเร่, หมายเรียกคดีไม่มีข้อยุ่งยาก, หมายเรียกจำเลยในคดีผู้บริโภค

    หากท่านได้รับหมายเรียกดังกล่าวมาแล้วข้างต้นนี้ จะมีวันนัดที่ได้ระบุไว้ในหมายเพื่อการไกล่เกลี่ย ให้การ และสืบพยาน และหากต้องการจะไกล่เกลี่ยต้องไปศาลตามกำหนดนัด หากต้องการต่อสู้คดีก็จะต้องยื่นคำให้การแก้คดีภายในวันนัดที่ระบุในหมาย  ซึ่งถือเป็นวันนัดพิจารณาครั้งแรก หากไม่มีทนายความหรือไม่ได้ทำคำให้การมาพร้อม ก็จะต้องขอเลื่อนการพิจารณาคดีเพื่อแต่งตั้งทนายความทำคำให้การยื่นเข้ามาในภายหลังในนัดต่อไป  หากท่านไม่ไปศาลในวันพิจารณา ศาลอาจถือว่าท่านขาดนัดยื่นคำให้การ หรือขาดนัดพิจารณา แล้วแต่กรณี ซึ่งจะมีผลทำให้ท่านเป็นฝ่ายแพ้คดี โดยศาลจะตัดสินคดีโจทก์ไปผ่ายเดียว

ตัวอย่างหมายศาลคดีมโนสาเร่หรือ คดีไม่มีข้อยุ่งยาก

 

ตัวอย่างหมายศาลคดีผู้บริโภค

 

๒.หมายนัดไต่สวนมูลฟ้องและสำเนาคำฟ้องคดีอาญา

เป็นกรณีที่ราษฎรหรือเอกชนเป็นโจทก์ฟ้องคดีเอง ควรแต่งตั้งทนายความดูแลคดี ถามค้านพยานโจทก์ในวันนัดไต่สวนมูลฟ้อง หากคดีไม่มีมูลศาลจะยกฟ้อง โดยในวันนัดไต่สวนมูลฟ้องจำเลยจะไปศาลด้วยหรือไม่ก็ได้หรือจะตั้งทนายไปซักค้านพยานโจทก์หรือเพื่อเจรจาไกล่เกลี่ยก็ได้  และหากศาลได้ทำการไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าคดีมีมูล ศาลก็จะประทับรับฟ้องไว้พิจารณา และหมายเรียกจำเลยมาสอบคำให้การต่อไป

ตัวอย่างหมายศาลคดีอาญาที่เอกชนฟ้องเอง หมายนัดไต่สวนมูลฟ้อง

๓.หมายนัดสอบคำให้การคดีอาญา

หมายนัดสอบคำให้การ คดีอาญา เป็นกรณีที่ราษฎรหรือเอกชนเป็นโจทก์ฟ้องคดีเอง และศาลได้ไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าคดีมีมูล ประทับรับฟ้องไว้พิจารณา และส่งหมายแจ้งกำหนดนัดสอบคำให้การจำเลย ให้จำเลยไปศาลตามกำหนด ว่าจะให้การว่าอย่างไร ซึ่งหากจำเลยได้รับหมายแล้วไม่ไปศาลศาลจะออกหมายจับ เพื่อจับตัวจำเลยมาพิจารณาคดีต่อไป โดยในวันนัดดังกล่าวจำเลยมักจะต้องทำเรื่องประกันตัวด้วย โดยคดีบางข้อหาหรือ บางกรณีศาลอาจให้ใช้หลักทรัพย์ในการประกันตัวหรือปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างพิจารณาคดีด้วย  นโจป์

 

๔.หมายแจ้งนัดไต่สวนคดีไม่มีข้อพิพาท เช่น คดีตั้งผู้จัดการมรดก คดีร้องขอรับรองบุตร  ร้องขอแสดงกรรมสิทธิที่ดิน(ครอบครองปรปักษ์)

เป็นหมายแจ้งให้ผู้มีส่วนได้เสียในคดี ให้ทราบว่ามีผู้มายื่นคำร้องที่ตนมีส่วนได้เสีย หากจะคัดค้านประการใดควรติดต่อทนายความเพื่อยื่นคำคัดค้านภายในวันนัด หากไม่มีผู้ใดยื่นคำคัดค้านจะถือว่าทราบแล้ว และไม่ติดใจคัดค้าน ศาลจะต่สวนและมีคำสั่งฝ่ายเดียว

๕.หมายคำบังคับคดีแพ่ง

หมายคำบังคับให้ปฎิบัติตามคำพิพากษา เช่นให้ชำระหนี้ภายใน ๑๕ วัน นับแต่ได้รับหมาย โดยหมายนี้จะมีข้อความว่า มิฉะนั้นจะอาจถูกจับ ปรับ หรือจำขัง ซึ่ง หากจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ชำระหนี้ภายในเวลาที่ศาลกำหนด โจทก์หรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็จะดำเนินการ ขอให้ศาลออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี ทำการยึดหรืออายัดทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้อง มาชำระหนี้โจทก์ เป็นขั้นตอนต่อไป  

๖.หมายส่งสำเนาอุทธรณ์ หรือสำเนาฎีกา ในคดีแพ่งหรือคดีอาญา

คือ คดีที่มีการยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น หรือมีการยื่นฎีกา ศาลจะส่งหมายแจ้งพร้อมกับสำเนาอุทธรณ์หรือฎีกา เพื่อให้คู่ความอีกฝ่ายใช้สิทธิ ยื่นคำแก้อุทธรณ์หรือ ยื่นคำแก้ฎีกา ภายใน ๑๕ วันนับแต่ได้รับหมาย

ตัวอย่าง

 

๗.หมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ -ฎีกา คดีอาญา

หมายดังกล่าวเป็นหมายแจ้งการอ่านคำพิพากษา หรือคำตัดสิน แก่คู่ความทราบ ซึ่งหากเป็นจำเลยจะต้องไปศาลเพื่อฟังคำพิพากษาตามกำหนดนัด มิฉะนั้นศาลจะออกหมายจับเพื่อนำตัวมาพิจารณา และอาจอ่านคำพิพากษาลับหลังจำเลยได้ โดยจำเลยควรเตรียมหลักทรัพย์เพื่อยื่นประกันตัวในกรณีแพ้คดีไว้ด้วย

 

หากมีข้อสงสัย หรือปรึกษาทนายเมื่อได้รับหมายศาล 

ปรึกษาทนายโทร 0864031447 

LINE ID : kobkiatlaw   
LINE@ สำนักงาน  :  @811ztyjo

ทนาย.กอบเกียรติ นบ .นบท.

 

Visitors: 148,053