เมื่อถูกฟ้องเป็นจำเลยคดีในแพ่งการขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การ ต้องทำอย่างไร

หลักเกณฑ์การขอยายระยะเวลายื่นคำให้การตามกฎหมาย

เนื่องจากในคดีแพ่งนั้นจำเลยจะต้องยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดเช่น ภายใน ๑๕ วัน นับแต่ได้รับหมาย ในคดีสามัญ หรือภายในวันนัดให้การในคดีมโนสาเร่ หรือคดีผู้บริโภค  หากไม่สามารถยืนคำให้การดได้ภายในเวลดังกล่าววแล้วจำเลยจะต้องยื่นขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การ ซึ่งมีหลักเกณฑ์โดยสรุปดังนี้

         “การขอขยายระยะเวลา” ต้องทำเป็นคำร้องขอตามกฎหมาย เป็นไปตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 23 ซึ่งมีหลักว่า เมื่อศาลเห็นสมควรหรือมีคู่ความฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้อง ให้ศาลมีอำนาจที่จะออกคำสั่งขยายหรือย่นระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายนี้หรือตามที่ศาลได้กำหนดไว้ หรือระยะเวลาที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณาความแพ่งอันกำหนดไว้ในกฎหมายอื่น เพื่อให้ดำเนินหรือมิให้ดำเนินกระบวนวิธีพิจารณาใด ๆ ก่อนสิ้นระยะเวลานั้นแต่การขยายหรือย่นเวลาเช่นว่านี้ให้พึงทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ และศาลได้มีคำสั่งหรือคู่ความมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย 

หลักเกณฑ์การยื่นคำร้องขอขยาย

๑) คู่ความฝ่ายที่เกี่ยวข้องยื่นคำร้องขอกรณียื่นคำขอก่อนสิ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้

๒) ในคำร้องขอต้องอ้างว่า มีพฤติการณ์พิเศษใดที่ทำให้ตนไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวได้

๓) เมื่อศาลเห็นสมควรกรณีศาลเห็นสมควรก่อนสิ้นกำหนดระยะเวลานั้น ศาลมีอำนาจทั่วไปในการขยายได้ ไม่จำต้องมีพฤติการณ์พิเศษ

          ระยะเวลาที่อาจขอขยายได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หมายถึง ระยะเวลาที่กำหนดไว้เพื่อให้ดำเนินหรือมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาภายในกำหนดเวลา  เช่น กำหนดเวลาให้จำเลยยื่นคำให้การ อาจแบ่งได้เป็น 3 ประการ ดังนี้ คือ

1. กำหนดระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เช่น ในบทบัญญัติมาตรา 177 กำหนดให้จำเลยยื่นคำให้การภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับหมายเรียก และสำเนาคำฟ้อง เป็นต้น

2. กำหนดระยะเวลาตามที่ศาลกำหนด เช่น คู่ความยื่นอุทธรณ์ ศาลสั่งรับอุทธรณ์ แล้วสั่งให้ผู้อุทธรณ์ นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งภายในกำหนดเวลา 7 วัน เป็นต้น

 3. ระยะเวลาเกี่ยวด้วยวิธีพิจารณาความแพ่งตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายอื่น เป็นระยะเวลาที่ไม่ใช่ศาลกำหนด    และไม่ใช่ระยะเวลาที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แต่บัญญัติไว้ในกฎหมายอื่น ซึ่งเป็นกำหนดเวลาที่เกี่ยวกับการดำเนินคดี ไม่ใช่เกี่ยวกับอายุความ

 

หลักสำคัญการขอขยายเวลาตามมาตรา ๒๓ ควรบรรยายถึงพฤติการณ์พิเศษ หรือ เหตุสุดวิสัยด้วย

 “พฤติการณ์พิเศษ” หมายถึง เหตุที่ทำให้ไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาภายในกำหนดระยะเวลานั้นได้ และต้องมิได้เกิดจากความผิดพลาดหรือบกพร่องของคู่ความ

“เหตุสุดวิสัย” หมายความถึง เหตุที่ทำให้ศาลไม่สามารถมีคำสั่งขยายหรือย่นระยะเวลาหรือคู่ความไม่สามารถมีคำขอขยายหรือย่นระยะเวลาก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดเพื่อให้ดำเนินหรือไม่ดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่จำต้องเป็นเหตุที่เกิดจากภัยธรรมชาติตาม ป.พ.พ. มาตรา ๘

ตัวอย่างกรณีที่ถือว่าทีพฤติการณ์พิเศษ เช่น

 - ข้ออ้างที่ว่า นับแต่ศาลชั้นต้นพิพากษาโจทก์ติดต่อคัดสำเนาคำพิพากษามาตลอดแต่ไม่สามารถคัดได้โดยเจ้าหน้าที่ศาลแจ้งว่าสำนวนยังไม่มา โจทก์เพิ่งได้รับสำเนาก่อนครบยื่นอุทธรณ์เพียง ๓ วันเท่านั้น ฎ.๕๗๓๖/๒๕๔๕ หรือเพิ่งได้รับคำพิพากษาวันสุดท้ายแห่งระยะเวลาอุทธรณ์ ฎ.๒๖๗๙/๒๕๔๔ ถือว่ามีพฤติการณ์พิเศษ

กรณีไม่ถือว่ามีพฤติการณ์พิเศษ  หรือเหตุสุดวิสัย เช่น

-จำเลยเตรียมค่าฤชาธรรมเนียมมาไม่พอมาวางศาล ทนายจำเลยบอกให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินจากธนาคาร จำเลยเบิกเงินไม่ทัน ยังถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษ (ฏีกา.176/2535) 

- ทนายติดต่อตัวความนำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลไม่ได้ หรือตัวความไม่นำเงินมาให้ ไม่ใช่พฤติการณ์พิเศษ (เป็นความผิดของจำเลยเอง) (ฎีกา. 23/2522, 255/2517)

-  อ้างว่า ทนายจำเลยหลงลืมไม่ได้ยื่นใบแต่งทนายความพร้อมกับคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดนั้น เป็นเพราะทนายจำเลยขาดความรอบคอบหรือไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรเท่านั้นเอง มิใช่เหตุสุดวิสัย ฎ.๒๕๖๙/๒๕๓๕

-  อ้างว่า เข้าใจผิดว่ายังไม่สิ้นระยะเวลาเนื่องจาก เสมียนทนายประมาทเลินเล่อในการตรวจดูคำสั่งศาลผิดพลาด ฎ.๑๓๓๕/๒๕๔๔ หรือ เสมียนทนายจดและจำวันครบกำหนดอุทธรณ์ผิดพลาด ฎ.๔๖๓๙/๒๕๔๓ มิใช่เหตุสุดวิสัย

 

ตัวอย่างการบรรยายคำร้อง

              ๑. ปรรยายว่า ได้รับหมายฯเมื่อใดครบกำหนดวันใด

 เช่น คดีนี้  ศาลปิดหมายเรียกและสำนาคำฟ้องวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๖๕ ซึ่งจะครบกำหนดระยะเวลายื่นคำให้การในวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๖๕

              ๒. บรรยายเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจำเป็นที่ทำให้ไม่สามารถยื่นคำให้การภายนระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด เช่น

             ทนายจำเลยเพิ่งได้รับการติดต่อจากจำเลย และเพิ่งได้รับแต่งตั้งในวันนี้ ประกอบกับ คดีมีข้อเท็จจริงไม่เป็นไปตามคำฟ้องโจทก์   มีข้อเท็จจริงและรายละเอียดจำนวนมาก ทนายจำเลยต้องตรวจสอบและรวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพื่อจัดทำคำให้การจำเลย และทนายจำเลยติดว่าความคดีอื่นที่นัดไว้ก่อนแล้วจำนวนหลายคดี  ทำให้ไม่สามารถจัดทำคำให้การยื่นต่อศาลได้ทันภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด

            ๓. บรรยายคำขอให้ศาลสั่งว่าอย่างไร ขอขยายระยะเวลาถึงวันใด เช่น

            เช่น ด้วยเหตุดังได้ประทานกราบเรียนข้างต้น จึงถือได้ว่ามีพฤติการณ์พิเศษซึ่งเกิดขึ้น จำเลย จึงขออนุญาตขยายระยะเวลายื่นคำให้การออกไปอีกสัก ๓๐ วัน นับแต่ครบกำหนดจนถึงวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๖๕  ขอศาลได้โปรดอนุญาต 

             ๔.ลงชื่อผู้ร้อง  และผู้เรียงและเขียน

ติดต่อทนายความ โทร 0864031447

ไลน์ไอดี kobkiatlaw

      

Visitors: 146,715