คนใช้โซเชียลมีเดียต้องรู้ แชร์ข้อมูลทางเฟสบุ๊คอย่างไรไม่ผิดหมิ่นประมาท ฯ หรือพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
คนใช้โซเชียลมีเดียต้องรู้ แชร์ข้อมูลทางเฟสบุ๊คอย่างไรไม่ผิดหมิ่นประมาท ฯ หรือพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
มีข้อพิจารณาดังนี้
หลักกฎหมายความผิดฐานหมิ่นประมาท มาตรา 326 มีหลักว่า ...ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม
โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้นั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง
ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
จากมาตราดังกล่าว แยกองค์ประกอบได้เป็น
1)ผู้ใด ผู้ใส่ความ :ผู้กระทำ(ผู้กระทำการหมิ่นประมาท)
2) ใส่ความผู้อื่น ต่อบุคคลที่สาม
3)โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นได้รับความเสียหาย
4) มีการกระทำโดยเจตนา (องค์ประกอบภายใน)
องค์ประกอบที่สำคัญคือ การกระทำโดยเจตนาคือ ต้องมีเจตาใส่ความ การมีเจตนาคือต้องรู้ข้อเท็จจริงที่เป็นองค์ประกอบความผิด
เช่น รู้ว่าข้อความนั้นเป็นเท็จเป็นการใส่ความ และข้อความนั้นจะต้องมีลักษณะเป็นการยืนยันข้อเท็จจริง
การแชร์ เผยแพร่ หรือส่งต่อข้อมูลของผู้อื่นหรือข่าวสาร
ทางโซเชีลมีเดีย นั้น ผู้เขียนมีความเห็นว่าผู้แชร์จะต้องรู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดจึงจะเป็นการหมิ่นประมาทผู้อื่นได้
คือ ต้องรู้ว่า ข้อความที่แชร์นั้นเป็นความเท็จ (ตามหลักไม่รู้=ไม่มีเจตนา) หากไม่รู้ก็ถือว่าไม่มีเจตนาตามป.อาญา มาตรา 59 วรรคสาม ไม่ครอบองค์ประกอบความผิด
อีกประการหนึ่ง
ความผิดฐานหมิ่นประมาทนั้น ข้อความจะต้องมีการยืนยันข้อเท็จจริง ดังนี้หากผู้แชร์ เพียงแต่กดแชร์ข้อความเฉยๆ
ไม่ได้มีการบรรยายโพสยืนยันข้อเท็จจริงที่แชร์นั้น
ว่าเป็นจริงเป็นเท็จอย่างไร ก็ไม่น่าจะผิดฐานหมิ่นประมาท และหากไม่ได้มีการเติม ตัดทอน
ข้อความ แก้ไขอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ยังถือไม่ได้ว่ามีเจตนาหมิ่นประมาทหรือไม่
ดังตัวอย่าง คดี ซึ่งจำเลยเป็นรัฐมนตรีคนหนึ่ง
ได้มีการคัดลอกข้อความของ นางสาว พ.ซึ่งกล่าวถึง นาง ว. มาลงในเฟสบุ๊ค นาง
ว.จึงฟ้องต่อศาลว่ากระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา
ต่อมาในชั้นไต่สวนมูลฟ้องศาลพิพากษายกฟ้อง
โดยวินิจฉัยว่าข้อความที่โพสหรือแชร์นั้น
จำเลยมิได้มีการตัดต่อเปลี่ยนแปลง
แม้แสดงความคิดเห็นตอบกลับข้อความของ...........แต่ไม่ถือว่าเป็นการยืนยันว่าข้อความของ
นางสาว พ.เป็นข้อเท็จจริง จึงไม่เป็นการกระทำผิดฐานหมิ่นประมาทตามฟ้อง
ตัวอย่างฎีกาตัดสินข้อกฎหมายเรื่องเจตนา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
3992/2539 แม้จำเลยที่1จะ
ไม่มี เจตนา หมิ่นประมาทโจทก์ร่วมและลงพิมพ์ข้อความไปตามคำสัมภาษณ์ของจำเลยที่2ซึ่งเป็นสมาชิกพรรคการเมืองเพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้ทราบความเป็นไปในพรรคการเมืองนั้นก็ตามแต่เมื่อหนังสือพิมพ์ซึ่งจำเลยที่1เป็น บรรณาธิการลงข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมจำเลยที่1ก็ย่อมมีความผิดในฐานะเป็น ตัวการตามพระราชบัญญัติการพิมพ์พ.ศ.2484มาตรา48 ศาลล่างลงโทษปรับจำเลยทั้งสองตาม
อัตราโทษของกฎหมายที่ใช้บังคับภายหลังการกระทำผิดซึ่งมีโทษปรับสูงกว่ากฎหมายเดิมจึงไม่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองและไม่อาจนำกฎหมายดังกล่าวมาปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสองได้ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
6310/2539 จำเลยนำแถบบันทึกเสียงที่มีผู้สนทนากันกล่าวถึงผู้เสียหายทั้งสองมีพฤติกรรมในทางชู้สาวต่อกันที่โรงเรียนที่ผู้เสียหายทั้งสองสอนอยู่ไปเปิดให้นาย
ส.ม.หัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอกับพวกฟังที่บ้านของนาย
ส.ม.โดยเกิดจากการแนะนำของนาย ส.กับนายส.ม. และผู้ร่วมฟังแถบบันทึกเสียงก็เป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับวงการศึกษาทั้งสิ้น
ทั้งไม่ใช่เปิดในที่สาธารณสถานเป็นทำนองปรึกษาหารือกันว่าจะทำอย่างไรต่อไป
เพราะหากผู้เสียหายทั้งสองกระทำการในทางชู้สาวจริง
นอกจากจะผิดต่อศีลธรรมแล้วยังผิดในทางวินัยข้าราชการอีกด้วย
เนื่องจากผู้เสียหายทั้งสองต่างรับราชการเป็นครูและต่างมีสามีและภรรยาแล้ว ดังนั้น
การกระทำดังกล่าวจึงไม่มีเจตนาที่จะใส่ความผู้เสียหายทั้งสองให้ถูกดูหมิ่นเกลียดชังหรือเสียหาย
แต่เป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำจำเลยไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท
สำหรับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ก็เช่นเดียวกัน คนแชร์จะมีความผิดได้จะต้องรู้
ว่าข้อมูลที่แชร์ไปนั้นเป็นข้อมูลเท็จตาม มาตรา 14 (5)
พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ปี 2560 มาตรา 14 มีหลักว่า ผู้ใดกระทําความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้
ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
(1) โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน
อันมิใช่การกระทําความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา
(2) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ
โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะของประเทศ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(3) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ
อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
(4) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได
(5) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม
(1) (2) (3) หรือ (4)
ดังนั้น การดำเนินการคนที่แชร์ข้อความตาม
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จะต้องมีพยานหลักฐานพิสูจน์
“เจตนา" ของผู้แชร์ให้ได้
ว่าผู้แชร์รู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์เท็จ....หรือลามก
หรือเกี่ยวกับความมั่นคง ตาม ตาตรา 14 นอกจากนี้ ซึ่งโดยทั่วไป ผู้แชร์อาจจะเชื่อว่าสิ่งที่แชร์ไม่ใช่ข้อมูลเท็จเพราะมาจากสำนักข่าวหรือแหล่งที่น่าเชื่อถือ
คือไม่รู้ว่าเป็นข้อมูลเท็จตาม (1)(2)หรือลามกตาม(3) ที่เป็นความผิดตามมาตรา
14 และ หากผู้แชร์พิสูจน์ได้ว่าไม่รู้
ไม่มีเจตนา ก็ย่อมไม่มีความผิด
สรุป.การแชร์ เผยแพร่
หรือส่งต่อข้อมูลทางโซเชียลมีเดีย จะผิดหมิ่นประมาท พรบ.คอมฯได้จะต้องมีเจตนา
รู้ข้อเท็จจริงทีแชร์ว่าเป็นเรื่องเท็จ หากเผยแพร่โดยไม่มีการยืนยันข้อเท็จจริง
ย่อมไม่ผิด
หลักกฎหมายเรื่องเจตนา ที่เกี่ยวข้อง
ป.อ.มาตรา 59
บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำโดยเจตนา
เว้นแต่จะได้กระทำโดยประมาท
ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาท
หรือเว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทำโดยไม่มีเจตนา
วรรค 2 กระทำโดยเจตนา
ได้แก่กระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผล
หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น
วรรค 3 ถ้าผู้กระทำมิได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด
จะถือว่าผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นมิได้
กอบเกียรติ ทนายความ นบ. นบท ผู้เขียน/รวบรวม
ฟ้องร้องต่อสู้คดีหมิ่นประมาทฯ พ.ร.บ.คอมฯ โทร 0864031447 ไลน์ kobkiatlaw