มียาเสพติดไว้เพื่อเสพ แต่ถูกฟ้องว่าครอบครองเพื่อจำหน่าย มีสิทธิต่อสู้คดีได้หรือไม่

มียาเสพติดไว้เพื่อเสพ แต่ถูกฟ้องว่าครอบครองเพื่อจำหน่าย มีสิทธิต่อสู้คดีได้หรือไม่

หลักกฎหมาย

พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๑๕ วรรคสาม

การผลิต นําเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ ตามปริมาณ ดังตอไปนี้  ให้สันนิษฐานว่าเป็นการผลิต นําเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจําหน่าย

๑) เด็กซ์โตรไลเซอร์ไยด์ หรือ แอล เอส ดี มีปริมาณคํานวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่ศูนย์จุดเจ็ดห้า มิลลิกรัมขึ้นไป หรือมียาเสพติดที่มีสารดังกล่าวผสมอยู่จํานวนสิบห้าหน่วยการใช้ขึ้นไปหรือมีน้ําหนักสุทธิ ตั้งแต่สามร้อยมิลลิกรัมขึ้นไป

(๒) แอมเฟตามีนหรืออนุพันธ์แอมเฟตามีน มีปริมาณคํานวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่สามร้อย เจ็ดสิบห้ามิลลิกรัมขึ้นไป หรือมียาเสพติดที่มีสารดังกล่าวผสมอยู่จํานวนสิบห้าหน่วยการใช้ขึ้นไปหรือ มีน้ําหนักสุทธิตั้งแต่หนึ่งจุดห้ากรัมขึ้นไป

๓) ยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ นอกจาก (๑) และ (๒) มีปริมาณคํานวณเป็นสารบริสุทธิ์ ตั้งแต่สามกรัมขึ้นไป

มาตรา ๑๗ วรรค ๒ แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒

การมียาเสพติดให้โทษในประเภท ๒ ไว้ในครอบครองคํานวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ตั้งแต่ หนึ่งร้อยกรัมขึ้นไป ให้สันนิษฐานว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจําหน่าย

มาตรา ๒๖ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒

การมียาเสพติดให้โทษในประเภท ๔ หรือในประเภท ๕ ไว้ในครอบครองมีปริมาณตั้งแต่ สิบกิโลกรัมขึ้นไป ให้สันนิษฐานว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจําหน่าย

 ตัวอย่างคำพิพากษาฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 896 / 2563

       ทั้งเมื่อจำเลยที่ 2  ครอบครองเมดแอมเฟตามีน 4,000 เม็ดของกลางแล้วจำเลยที่ 2 ได้นำไปซุกซ่อนไว้  โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 มีพฤติการณ์ขาย  จ่าย  แจก   แลกเปลี่ยน หรือให้เมดแอมเฟตามีน 4,000 เม็ด ของกลางแก่ผู้ใด  เจตนาที่แท้จริงและพฤติการณ์แห่งคดีดังกล่าวเชื่อว่าจำเลยที่ 2   มีเจตนาครอบครองเมจแอมเฟตามีน 4000 เม็ดของกลางไว้เป็นของตนเองเท่านั้น

      พยานหลักฐานที่จำเลยที่ 2 นำสืบจึงสามารถพิสูจน์ให้เห็นว่ากรณีของจำเลยที่ 2 ไม่เข้าเงื่อนไขตามข้อสันนิษฐานของกฎหมายได้ ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่สองมีเมดแอมเฟตามีน 4,000 เม็ดของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย 

      จำเลยที่สองจึงไม่มีความผิดฐานมีเมดแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายแต่การกระทำของจำเลยที่สองเป็นความผิดฐานมีเมดแอมเฟตามีนไว้ในครอบครอง 

      สรุป  ข้อต่อสู้ของจำเลยคดีนี้ จึงสามารถพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสาม (2) ได้ ว่า  แม้จะมียาบ้าหรือเมทฯ เกินกกว่า 15 เม็ด (กรณียาไอซ์0.375 กรัม) ก็ไม่ได้มีไว้เพื่อจำหน่าย แต่อย่างใด  ผิดเพียงฐานมีไว้ในครอบครองโดยผิดกฎหมายเท่านั้น ซึ่งมีอัตราโทษเบากว่ากันมาก

        อนึ่ง เดิมก่อนมีการแก้ไขพระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๐ นั้นปริมาณยาเสพติดที่เกินจำนวนที่กฎหมายกำหนด เช่น ยาบ้าเกิน 15 เม็ด ไอซ์สารบริสุทธิ์เกิน 375 มิลลิกรัม จะถือว่าเป็นการครอบครองเพื่อจำหน่าย จะเป็นข้อสันนิษฐานเด็ดขาดไม่สามารถปฎิเสธนำสืบหักล้างได้ว่าไม่ได้มีเพื่อจำหน่าย   แต่ต่อมา ใน พ.ศ. ๒๕๖๐ ได้มีการแก้ไขกฎหมายมาตรา 15 จากเดิมใช้คำว่า “ให้ถือว่า”เปลี่ยนเป็นใช้คำว่า “ให้สันนิษฐานว่า...” จึงสามารถนำสืบพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานได้ว่ามิได้ครอบครองเพื่อจำหน่าย

       กอบเกียรติ ,ทนายความ ,นบ.นบท โทร 0864031447 ไลน์ kobkiatlaw

 

Visitors: 145,074