ผู้จัดการมรดกตาย ต้องตั้งผู้จัดการมรดกคนใหม่หรือไม่
กรผู้จัดการมรดกเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ได้รับการแต่งตั้ง
หากผู้จัดการมรดกตายก่อนจัดการมรดกเสร็จสิ้นจะต้องร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกคนใหม่ และไม่สามารถเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4547/2562
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 826 วรรคสอง, 828 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 42
การขอตั้งผู้จัดการมรดก
การเป็นผู้จัดการมรดก
หรือการคัดค้านการขอตั้งผู้จัดการมรดกเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ร้อง
ทายาทของผู้ร้องไม่อาจเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ได้ ผู้ร้องถึงแก่ความตายก่อนยื่นอุทธรณ์
ต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค ๖ พิพากษาให้จำหน่ายคดีของผู้ร้อง
ทนายผู้ร้องและผู้รับมอบอำนาจของผู้ร้องย่อมหมดสภาพจากการเป็นทนายผู้ร้องและผู้รับมอบอำนาจของผู้ร้อง
และถือว่าล่วงเลยเวลาที่ทนายผู้ร้องจะจัดการอันสมควรเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ที่ผู้ร้องมอบหมายแก่ตนตาม
ป.พ.พ. มาตรา 828 แล้ว
จึงไม่มีอำนาจกระทำการแทนผู้ร้องอีกต่อไป
การที่ผู้ร้องฎีกาโดยทนายผู้ร้องเป็นผู้กระทำการแทนและลงลายมือชื่อเป็นผู้ฎีกา
และศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของผู้ร้องมาเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 96/2516 การเป็นผู้จัดการมรดก เป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ที่ได้รับการตั้ง คดีที่ร้องขอให้ถอดถอนผู้จัดการมรดกเมื่อผู้จัดการมรดกถึงแก่กรรมในระหว่างฎีกา ก็ไม่มีประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะพิจารณาฎีกาของผู้จัดการมรดกต่อไป ศาลฎีกาย่อมมีคำสั่งให้จำหน่ายคดี
กรณีมีผู้จัดการมรดกหลายคนตามคำสั่งศาล
เมื่อผู้จัดการมรดกร่วมคนหนึ่งถึงแก่ความตาย
ผู้จัดการมรดกร่วมจะจัดการมรดกต่อไปเพียงโดยยังมิได้ขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ตนเป็นผู้จัดการมรดกต่อไปไม่ได้
แต่ผู้จัดการมรดกที่เหลือต้องร้องขอต่อศาลให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมให้จัดการมรดกได้โดยลำพังเสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
6857/2553
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1713, 1715, 1726, 1736 วรรคสอง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 55
แม้ตาม
ป.พ.พ. มาตรา 1715 วรรคสองบัญญัติว่า
"เว้นแต่จะมีข้อกำหนดไว้ในพินัยกรรมเป็นอย่างอื่น ถ้ามีผู้จัดการมรดกหลายคน
แต่ผู้จัดการมรดกเหล่านั้นบางคนไม่สามารถหรือไม่เต็มใจที่จะจัดการ
และยังมีผู้จัดการมรดกเหลืออยู่แต่คนเดียวผู้นั้นมีสิทธิที่จะจัดการได้โดยลำดับ
แต่ถ้ามีผู้จัดการมรดกเหลืออยู่หลายคนให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า
ผู้จัดการมรดกเหล่านั้นแต่ละคนจะจัดการโดยลำพังไม่ได้"
ก็มีความหมายถึงผู้จัดการมรดกที่ตั้งขึ้นโดยพินัยกรรมเท่านั้น
ไม่รวมถึงผู้จัดการมรดกที่ศาลตั้งขึ้นโดยไม่มีพินัยกรรม การที่ศาลมีคำสั่งตั้งบุคคลหลายคนเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกัน
การกระทำตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกต้องดำเนินการตามมาตรา 1726 ที่ให้กระทำการโดยถือเอาเสียงข้างมาก
หากปรากฏว่าผู้จัดการมรดกร่วมคนใดคนหนึ่งถึงแก่ความตาย
ผู้จัดการมรดกที่เหลือย่อมต้องร้องขอต่อศาลให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมเมื่อการฟ้องคดีเพื่อจัดการทรัพย์มรดกเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามมารตรา
1736 วรรคสอง
และมีบทบัญญัติของกฎหมายบัญญัติเกี่ยวกับการทำหน้าที่ของผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลกรณีที่มีผู้จัดการมรดกหลายคนต้องดำเนินการตามมาตรา
1726 ที่กฎหมายได้กำหนดไว้โดยเฉพาะแล้วจึงไม่อาจนำวิธีการตามมาตรา
1715 ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ใช้เฉพาะผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมมาใช้บังคับได้
ดังนั้น เมื่อ ป. ผู้จัดการมรดกคนหนึ่งถึงแก่ความตาย
โดยโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกร่วมจะจัดการมรดกต่อไปเพียงสองคนโดยยังมิได้ขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ตนเป็นผู้จัดการมรดกต่อไป
ย่อมเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งศาลและไม่มีอำนาจจะจัดการได้
โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ทนายกอบเกียรติ นบ.นบท. ผู้รวบรวม ปรึกษา คดีมรดกโทร 0864031447 ไลน์ไอดี Kobkiatlaw