หลักสำคัญกฎหมายขายฝากที่ดินฉบับใหม่ ผู้ขาย-ผู้ซื้อต้องรู้
หลักสำคัญกฎหมายขายฝากที่ดินฉบับใหม่ ผู้ขาย-ผู้ซื้อต้องรู้
(ตามพระราชบัญญัติ คุ้มครองประชาชนในการทำสัญญาขายฝากที่ดิน เพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย พ.ศ. ๒๕๖๒)มีหลักเกณฑ์สำคัญที่เพิ่มเติมขึ้นมา ดังต่อไปนี้ เช่น
๑. สิทธิไถ่ทรัพย์สินผูขายสามารถโอนสิทธิได้โดยทางนิติกรรม หรือและเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทได้ ( มาตรา ๑๔)
๒. การไถ่ทรัพย์สิน ไถ่ได้กับผู้ซื้อฝากเดิม ทายาทของผู้ซื้อฝากกรณีเสียชีวิต หรือผู้รับโอนทรัพย์สินที่ขายฝาก (มาตรา ๑๕)
๓. ผู้ซื้อฝากต้องแจ้งก่อนวันครบกําหนดเวลาไถ่ไม่น้อยกว่าสามเดือน โดยแจ้งเป็นหนังสือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังผู้ขายฝาก ระบุกำหนดเวลาไถ่ จำนวนสินไถ่ และแนบสำเนาสัญญาขายฝาก
๓.๑ ถ้าผู้แจ้งไม่ใช่เจ้าของเดิม ต้องแจ้งด้วยว่าต้องไถ่กับใคร และสถานที่ที่ชําระสินไถ่
๓.๒ ถ้าผู้ซื้อฝากไม่ได้แจ้งภายในระยะเวลาที่กำหนด หรือมิได้ส่งสำเนาสัญญาขายฝากไปด้วย ผู้ขายฝากมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากได้ภายใน ๖ เดือน นับแต่วันครบกำหนดไถ่(มาตรา๑๗)
๔. เงินค่าไถ่ตกลงสูงกว่าราคาขายฝากก็ได้ แต่ ต้องไม่เกินร้อยละสิบห้าต่อปี นับแต่วันที่ขายฝากถึงวันครบกำหนดเวลาไถ่
๕. กรณีไถ่ก่อนครบกําหนด และสินไถ่ตกลงไว้สูงกว่าราคาที่ขายฝาก ต้องลดสินไถ่ในส่วนที่สูงกว่าลงตามอัตราส่วน ของระยะเวลาไถ่ที่ลดลง โดยผู้ซื้อฝากเรียกค่าเสียโอกาสได้ร้อยละสองต่อปี
๖. ถ้าผู้ซื้อฝากได้รับเงิน ทรัพย์สิน หรือ ประโยชน์จากการซื้อฝาก รวมทั้งค่าตอบแทนที่ ผู้ซื้อฝากได้รับจากการให้บุคคลอื่นใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินที่ขายฝากตามมาตรา ๑๓ วรรคสอง ถือว่าส่วนนั้นเป็นส่วนหนึ่งของสินไถ่ที่ชำระแล้ว
๗.คดีพิพาทอันเนื่องจากการขายฝากเป็นคดีผู้บริโภค โดยให้ถือว่าผู้ขายฝากเป็นผู้บริโภค
๘.การไถ่ถอน อาจชำระสินไถ่ให้แก่ผู้ซื้อฝาก หรือวางทรัพย์ และจดทะเบียนไถ่ภายหลัง ทั้งนี้ห้ามเกินกำหนดสัญญา
๙. เมื่อชำระค่าสินไถ่แล้ว กรรมสิทธิ์ถือเป็นของผู้ขายฝากทันที โดยนำหลักฐานการไถ่ หรือการวางทรัพย์ พร้อมหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่เพื่อจดทะเบียนไถ่ฝ่ายเดียวได้
ทนายกอบเกียรติ นบ.นบท.(ผู้รวบรวม) ฟ้องร้อง ต่อสู้คดีขายฝากที่ดิน โทร 0864031447
LINE ID : kobkiatlaw