ทนายความคดียักยอกทรัพย์

ทนายความคดียักยอก

ความผิดฐานยักยอก / อัตราโทษ

มาตรา ๓๕๒ วรรคแรกมีองค์ประกอบความผิดดังต่อไปนี้ 

๑. ผู้ใด 

๒. ครอบครองทรัพย์ของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย

 ๓. เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สาม 

๔. โดยทุจริต 

องค์ประกอบในความผิดฐานยักยอก ต้องมีการครอบครองทรัพย์ของผู้อื่น แล้วเบียดบังโดย ทุจริต พิจารณาตาม การได้มาซึ่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๓๖๗ บัญญัติว่า บุคคลใดยึดถือทรัพย์สินโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตน ท่านว่าบุคคลนั้นได้สิทธิ์ ครอบครองและมาตรา ๑๓๖๘ บัญญัติว่า การโอนการครอบครองย่อมท าได้โดยส่งมอบ ทรัพย์สินที่ครอบครองการครอบครอง อาจเป็นได้ โดย เจ้าของเป็นผู้ครอบครองเอง หรือ การครอบครองโดย ได้รับมอบหมายจากเจ้าของหรือจากตัวแทน หรือเป็นการครอบครองโดยปริยาย และมีการเบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคลที่สาม โดยเจตนาทุจริต จะมีความผิด ฐานยักยอก

หลักกฎหมาย 
มาตรา 352 ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่น เป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคล ที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานยักยอก ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าทรัพย์นั้นได้ตกมาอยู่ในความครอบครองของผู้กระทำความผิด เพราะผู้อื่นส่งมอบให้โดยสำคัญผิดไปด้วยประการใด หรือเป็นทรัพย์ สินหายซึ่งผู้กระทำความผิดเก็บได้ ผู้กระทำต้องระวางโทษแต่เพียง กึ่งหนึ่ง
มาตรา 353 ผู้ใดได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่นหรือ ทรัพย์สินซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย กระทำผิดหน้าที่ของตนด้วย ประการใด ๆ โดยทุจริต จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของผู้นั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 
มาตรา 354 ถ้าการกระทำความผิดตาม มาตรา 352 หรือ มาตรา 353 ได้กระทำในฐานที่ผู้กระทำความผิดเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของ ผู้อื่น ตามคำสั่งของศาล หรือตามพินัยกรรม หรือในฐานเป็นผู้มีอาชีพ หรือธุรกิจ อันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน ผู้กระทำต้องระวาง โทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 
มาตรา 355 ผู้ใดเก็บได้ซึ่งสังหาริมทรัพย์อันมีค่า อันซ่อนหรือฝัง ไว้โดยพฤติการณ์ซึ่งไม่มีผู้ใดอ้างว่าเป็นเจ้าของได้ แล้วเบียดบังเอา ทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือของผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 
มาตรา 356 ความผิดในหมวดนี้เป็นความผิดอันยอมความได้

อายุความฟ้องคดี 3 เดือน นับแต่รู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำผิด

มาตรา 96 ภายใต้บังคับ มาตรา 95 ในกรณีความผิดอันยอมความ ได้ถ้าผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความ ผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ มาตรา 97 ในการฟ้องขอให้กักกัน ถ้าจะฟ้องภายหลังการฟ้อง คดีอันเป็นมูลให้เกิดอำนาจฟ้องขอให้กักกัน ต้องฟ้องภายในกำหนด หกเดือนนับแต่วันที่ฟ้องคดีนั้น มิฉะนั้น เป็นอันขาดอายุความ

 

คดียักยอกมีอายุความ 10 ปี นับแต่วันกระทำผิด ตามมาตรา 95 

มาตรา 95 ในคดีอาญา ถ้ามิได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิด มายังศาลภายในกำหนดดังต่อไปนี้ นับแต่วันกระทำความผิดเป็นอัน ขาดอายุความ
(1) ยี่สิบปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุก ตลอดชีวิต หรือจำคุกยี่สิบปี
(2) สิบห้าปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าเจ็ดปีแต่ ยังไม่ถึงยี่สิบปี
(3) สิบปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งปีถึงเจ็ดปี
(4) ห้าปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งเดือนถึง หนึ่งปี
(5) หนึ่งปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งเดือน ลงมาหรือต้องระวางโทษอย่างอื่น
ถ้าได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลแล้ว ผู้กระทำ ความผิดหลบหนีหรือวิกลจริต และศาลสั่งงดการพิจารณาไว้จนเกิน กำหนดดังกล่าวแล้วนับแต่วันที่หลบหนีหรือวันที่ศาลสั่งงดการพิจารณา ก็ให้ถือว่าเป็นอันขาดอายุความเช่นเดียวกัน

 

\คำพิพากษาศาลฎีกาที่น่าสนใจในการต่อสู้คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 153/2540  ขณะสุราของโจทก์ร่วมหายไปไม่มีพยานรู้เห็นโจทก์ร่วมมาทราบว่าสุราขาดหายก็เนื่องจากมีการตรวจสอบบัญชีสุราคงเหลือและที่กล่าวหาจำเลยทั้งสองก็เพราะจำเลยทั้งสองเป็นผู้รับผิดชอบในสุราที่หายไปแต่ปรากฎว่ายังมีช. พนักงานของโจทก์ร่วมอีกคนหนึ่งเป็นผู้นำสุราไปขายให้แก่ร้านค้าและเก็บเงินจากร้านค้าซึ่งภายหลังเกิดเหตุช. ได้หลบหนีไปพยานโจทก์และโจทก์ร่วมนอกจากนี้ก็ไม่มีผู้ใดยืนยันหรือชี้ชัดได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ยักยอกสุราของโจทก์ร่วมไปมีวิธีการยักยอกและนำไปจำหน่ายอย่างไรดังนั้นการที่สุราของโจทก์ร่วมขาดหายไปจากสต๊อกอาจจะเป็นเพราะช. นำไปขายและยังเก็บเงินจากลูกค้าไม่ได้ก็ได้พยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมจึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่1ยักยอกสุราของโจทก์ร่;,

           โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83, 335 และให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนหรือใช้ราคาทรัพย์1,272,432 บาท แก่ผู้เสียหาย

         จำลยทั้งสองให้การปฎิเสธ

          ระหว่างพิจารณา บริษัทวรากิจการสุรา จำกัด ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาต

ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 วรรคแรก จำคุก 2 ปี และให้จำเลยที่ 1คืนหรือใช้ราคาทรัพย์รวม 1,272,432 บาท แก่โจทก์ร่วมด้วย ส่วนจำเลยที่ 2 ให้ยกฟ้อง

โจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 1 ด้วยนอกจากนี้แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดฐานยักยอกทรัพย์หรือไม่เห็นว่า ขณะสุราของโจทก์หายไปไม่มีพยานรู้เห็น เหตุที่โจทก์ร่วมทราบว่าสุราขาดหายก็เนื่องจากมีการตรวจสอบบัญชีสุราคงเหลือและเหตุที่กล่าวหาจำเลยทั้งสองก็เพราะจำเลยทั้งสองเป็นผู้รับผิดชอบในสุราที่ขาดหายดังกล่าว แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นหัวหน้าฝ่ายขายหน้าร้านของโจทก์ร่วม แต่ก็ยังมีจำเลยที่ 2 ทำหน้าที่ควบคุมสต๊อกและขายสุราหน้าร้านโจทก์ร่วมอีกด้วย นอกจากนั้นยังมีนายไชยยันต์เขียนสะอาด พนักงานของโจทก์ร่วมเป็นผู้นำสุราไปขายให้แก่ร้านค้าและเก็บเงินจากร้านค้า ได้ความตามคำเบิกความของนายฤทธิพงศ์สมบูรณ์ พยานโจทก์ว่า พยานได้ซื้อสุราจากโจทก์ร่วมมาขายโดยนายไชยยันต์เป็นผู้นำไปส่งให้พยานจ่ายเช็คเอกสารหมาย จ.6ให้แก่นายไชยยันต์เพื่อเป็นค่าสุราส่วนหนึ่งและเป็นเช็คที่นายไชยยันต์ขอให้พยานช่วยออกให้เพื่อนำไปปิดบัญชีเพราะเก็บค่าสุราไม่ได้ หลังเกิดเหตุแล้วทางโจทก์ร่วมได้ตรวจสอบเช็คเอกสารหมาย จ.6 พยานได้จ่ายเงินเป็นค่าสุราให้โจทก์ร่วม 150,000บาท และปรากฎว่าเมื่อโจทก์ร่วมได้สอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องสุราที่ขาดหายไป นายไชยยันต์ได้หลบหนีพยานโจทก์และโจทก์ร่วมนอกจากนี้ก็ไม่มีผู้ใดยืนยันหรือชี้ชัดได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ยักยอกสุราของโจทก์ร่วมไป มีวิธีการยักยอกและนำไปจำหน่ายอย่างไรตามพฤติการณ์ดังกล่าว การที่สุราของโจทก์ร่วมขาดหายไปจากสต๊อกอาจจะเป็นเพราะนายไชยยันต์นำไปขายและยังเก็บเงินจากลูกค้าไม่ได้ก็ได้ พยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ยักยอกสุราของโจทก์ร่วมไป ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3พิพากษามานั้นศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น"

พิพากษายืน

 

ปรึกษาคดีเบื้องต้น หรือติดต่อให้ว่าความ

 

Tel . 086-403-1447

 

Visitors: 146,436