สัญญากู้ยืมเงินไม่ได้กรอกจำนวนเงินไว้ เจ้าหนี้กรอกจำนวนเงินเองมีความผิดหรือไม่ สัญญากู้ยืมชอบด้วยกฎหมายหรือไม่และ มีผลอย่างไร
สัญญากู้ยืมเงินไม่ได้กรอกจำนวนเงินไว้ เจ้าหนี้กรอกจำนวนเงินเองมีความผิดหรือไม่ สัญญากู้ยืมชอบด้วยกฎหมายหรือไม่และ มีผลอย่างไร
๑.สัญญากู้ไม่ได้กรอกจำนวนเงินไว้ เลย
๑.๑ กรณีหากกรอกตามความจริงใช้เป็นพยานหลักฐานได้โดยชอบ ผู้ให้กู้ไม่ผิดฐานปลอมเอกสาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7428/2543 จำเลยให้การรับแล้วว่าได้กู้ยืมเงินโจทก์ไปจริงตามที่โจทก์ฟ้องโดยจำเลยลงลายมือชื่อไว้ในกระดาษที่ไม่มีการกรอกข้อความไว้ แม้หากข้อเท็จจริงจะฟังได้ตามคำให้การของจำเลยว่า สัญญากู้เงินที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นเอกสารที่โจทก์กรอกข้อความขึ้นเองโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยก็ตาม แต่โจทก์ได้กรอกจำนวนเงินที่กู้ยืมตามความเป็นจริงอัตราดอกเบี้ยก็ไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดหรือที่ได้ตกลงกันไว้ จึงเป็นการกู้ยืมเงินที่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยผู้ยืมเป็นสำคัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่งจำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้เงินให้แก่โจทก์ตามฟ้อง
๑.๒ กรณีหากกรอกไม่ตรงตามความจริง เช่นกู้ ๑ แสน ไปกรอกเติมเลขเป็น ๑ ล้าน ถือว่าหนังสือสัญญากู้ยืมเงินเป็นเอกสารปลอม และถือได้ว่าการกู้ยืมตามฟ้องโจทก์มิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือ
คำพิพากษาฎีกาที่ 759/2557 จำเลยไม่ได้กู้ยืมเงินไปจำนวน 390,000 บาท ตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงิน โจทก์กรอกจำนวนเงินในภายหลังว่าจำเลยกู้ยืมเงินจำนวนดังกล่าวซึ่งมากกว่าจำนวนหนี้กู้ยืมที่มีอยู่จริงในวันทำสัญญากู้ยืมโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลย หนังสือสัญญากู้ยืมเงินจึงเป็นเอกสารปลอม และถือได้ว่าการกู้ยืมตามฟ้องโจทก์มิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือ โจทก์ไม่อาจฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง และมิใช่เป็นกรณีที่จำเลยให้การรับแล้วที่โจทก์ไม่จำต้องอ้างสัญญากู้ยืมเงินเป็นพยานหลักฐานจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระเงินในจำนวนที่รับว่าได้กู้ยืมจากโจทก์
๒.กรณี เจ้าหนี้กรอกจำนวนเงินไว้แล้วเจ้าหนี้ไปตกเติมภายหลัง อย่างนี้สามารถฟ้องให้รับผิดตามจำนวนเนื้อความเดิม และผู้กรอกเติมข้อความเป็นการปลอมเอกสารสิทธิ์ตากฎหมายอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 407/2542จำเลยทำหนังสือสัญญากู้ยืมฉบับพิพาทจากโจทก์30,000 บาท ต่อมาโจทก์แก้ไขจำนวนเงินในสัญญาเป็น60,000 บาท โดยไม่เป็นความจริงแล้วโจทก์นำสัญญานั้นมาฟ้อง ดังนี้ เมื่อปรากฏว่า สัญญากู้ยืมฉบับพิพาทจำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้ กู้ยืมเงินโจทก์ 30,000 บาท เป็นหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือซึ่งจำเลยต้องรับผิด แม้ภายหลังโจทก์แก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้ให้สูงขึ้น จึงทำให้สัญญากู้ยืมเงินฉบับพิพาทเป็นเอกสารปลอม ก็ไม่ทำให้หลักฐานการกู้ยืมเงินที่ทำไว้แต่เดิมและมีผลสมบูรณ์อยู่แล้วต้องเสียไป ศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยรับผิดตามจำนวนเงินเท่าที่จำเลยกู้ไปจริง
โดยทนายกอบเกียรติ นบ.นบท.
ปรึกษาคดีเงินกู้ โทร 0864031447
ไลน์ kobkiatlaw