ทนายยื่นคำให้การสู้คดีแพ่ง
การยื่นคำให้การคดีโมนสาเร่
คดีมโนสาเร่ คือ คดีที่คดีที่มีทุนทรัพย์พิพาทกันคำนวณเป็นเงินได้ไม่เกินสามแสนบาท เช่น โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าเสียหายจากจำเลยผิดสัญญา หรือละเมิดต่อโจทก์ เป็นเงิน 300,000 บาท ถือว่าเป็นคดีมโนสาเร่ หรือ ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านเช่าพิพาท มีอัตราค่าเช่า เดือนละไม่เกินสามหมื่นบาท เป็นต้น
หลักกฎหมาย
มาตรา 189 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง บัญญัติไว้ว่า คดีมโนสาเร่ คือ
(1)คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ไม่เกินสามแสนบาท
(2)คดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละสามหมื่นบาท
มาตรา 193 ในคดีมโนสาเร่ ให้ศาลกำหนดวันนัดพิจารณาโดยเร็วและออกหมายเรียกไปยังจำเลย ในหมายนั้นให้จดแจ้งประเด็นแห่งคดีและจำนวนทุนทรัพย์หรือราคาที่เรียกร้อง และข้อความว่าให้จำเลยมาศาลเพื่อการไกล่เกลี่ย ให้การ และสืบพยานในวันเดียวกัน และให้ศาลสั่งให้โจทก์มาศาลในวันนัดพิจารณานั้นด้วย
ในวันนัดพิจารณา เมื่อโจทก์และจำเลยมาพร้อมกันแล้ว ให้ศาลไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกันในข้อที่พิพาทนั้นก่อน
ถ้าคู่ความไม่อาจตกลงกันหรือไม่อาจประนีประนอมยอมความกันได้และจำเลยยังไม่ได้ยื่นคำให้การ ให้ศาลสอบถามคำให้การของจำเลย โดยจำเลยจะยื่นคำให้การเป็นหนังสือ หรือจะให้การด้วยวาจาก็ได้ ในกรณียื่นคำให้การเป็นหนังสือให้นำมาตรา ๑๙๑ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีให้การด้วยวาจา ให้ศาลบันทึกคำให้การรวมทั้งเหตุการณ์นั้นไว้ อ่านให้จำเลยฟัง แล้วให้จำเลยลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ
ถ้าจำเลยไม่ให้การตามวรรคสาม ให้ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจมีคำสั่งไม่ยอมเลื่อนเวลาให้จำเลยยื่นคำให้การ โดยให้ถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ และให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดโดยนำมาตรา ๑๙๘ ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้สืบพยาน ก็ให้ศาลดำเนินการต่อไปตามมาตรา ๑๙๓ ตรี มาตรา ๑๙๓ จัตวา และมาตรา ๑๙๓ เบญจ๑๓
การยื่นคำให้การต่อสู้คดีในคดีมโนสาเร่ และคดีไม่มีข้อยุ่งยาก จะต่างจากคดีแพ่งสามัญ
หากท่านได้รับหมายเรียกดังกล่าวมาแล้วข้างต้นนี้ ท่านมีหน้าที่ต้องยื่นคำให้การและ มาศาลตามวันนัดที่ได้ระบุไว้ในหมายเพื่อการไกล่เกลี่ย ให้การ และสืบพยาน และหากท่านมีความประสงค์จะต่อสู้คดีก็จะต้องให้การแก้คดีภายในวันนัดที่ระบุในหมาย ซึ่งถือเป็นวันนัดพิจารณาครั้งแรกด้วย หากไม่ไปศาลในวันพิจารณา ศาลอาจถือว่าขาดนัดยื่นคำให้การ หรือขาดนัดพิจารณา แล้วแต่กรณี ซึ่งจะมีผลทำให้เป็นฝ่ายแพ้คดี โดยศาลจะตัดสินคดีโจทก์ไปผ่ายเดียว และจะมีคำพิพากษาและบังคับคดีต่อไป ดังนั้น หากได้รับหมายศาลดังกล่าวแล้ว ควร จะรีบติดต่อทนายความเพื่อช่วยดูแลคดี และทำคำให้การต่อสู้คดี ให้ทันตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดต่อไป
การยื่นคำให้การต่อสู้คดีของจำเลยในคดีผู้บริโภค
ควรทำเป็นหนังสือยื่นต่อศาลภายในวันและเวลานัดที่ศาลกำหนด หรือยื่นก่อนวันที่ศาลนัดก็ได้
มาตรา ๒๔ เมื่อศาลสั่งรับคำฟ้องแล้ว ให้ศาลกำหนดวันนัดพิจารณาโดยเร็ว และออก หมายเรียกจำเลยให้มาศาลตามกำหนดนัดเพื่อการไกล่เกลี่ย ให้การ และสืบพยานในวันเดียวกัน ทั้งนี้ ให้ศาล ส่งสำเนาคำฟ้องหรือสำเนาบันทึกคำฟ้องให้จำเลย และสั่งให้โจทก์มาศาลในวันนัดพิจารณานั้นด้วย จำเลยจะยื่นคำให้การเป็นหนังสือก่อนวันนัดพิจารณาตามวรรคหนึ่งก็ได้” จากบทบัญญัติในมาตรา ๒๐ และ ๒๔ จะเห็นได้ว่า กระบวนการยื่นคำฟ้องและคำให้การในคดี ผู้บริโภคนั้น มุ่งอำนวยความสะดวกให้แก่คู่ความทั้งโจทก์และจำเลย โดยกำหนดให้สามารถกระทำด้วยวาจาหรือ เป็นหนังสือก็ได้ โดยในส่วนของจำเลยนั้นสามารถที่จะยื่นคำให้การเป็นหนังสือก่อนวันนัดพิจารณา หรือจะมา ให้การด้วยวาจาในวันนัดพิจารณาเลยก็ได้ โดยศาลจะจัดให้มีการบันทึกคำให้การนั้นและให้จำเลยลงลายมือชื่อไว้ เป็นสำคัญตามมาตรา ๒๖ ๕. กำรพิจารณาคดี
“มาตรา ๒๐ การฟ้องคดีผู้บริโภค โจทก์จะฟ้องด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้ ในกรณีที่ โจทก์ประสงค์จะฟ้องด้วยวาจา ให้เจ้าพนักงานคดีจัดให้มีการบันทึกรายละเอียดแห่งคำฟ้องแล้วให้โจทก์ลงลายมือ ชื่อไว้เป็นสำคัญ คำฟ้องต้องมีข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดีรวมทั้งคำขอบังคับชัดเจนพอที่จะทำให้ เข้าใจได้ หากศาลเห็นว่าคำฟ้องนั้นไม่ถูกต้องหรือขาดสาระสำคัญบางเรื่อง ศาลอาจมีคำสั่งให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องใน ส่วนนั้นให้ถูกต้องหรือชัดเจนขึ้นก็ได้
การยื่นคำให้การคดีแพ่งสามัญ
จำเลยตามมาตรา 197 ที่ได้รับหมายเรียกให้ยื่นคำให้การแล้ว ที่มีหน้าที่ต้องยื่นคำให้การแก้คดีได้แก่คู่ความดังต่อไปนี้
(1) จำเลยที่ถูกโจทก์ฟ้อง มาตรา 177 วรรคหนึ่ง "เมื่อได้ส่งหมายเรียกและคำฟ้องให้จำเลยแล้ว ให้จำเลยทำคำให้การเป็นหนังสือยื่นต่อศาลภายในสิบห้าวัน" จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องยื่นคำให้การภายในกำหนด 15 วันนับแต่ได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง หากกรณีรับหมายโดยวิธีปิดหมายหรือส่งโดยวิธีอื่น การปิดหมายมีผลเมื่อครบสิบห้าวัน จะนับ 15 บวก 15 คือต้องยื่นภายใน 30 วัน ถ้าไม่ยื่นก็ถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ
(2) โจทก์ที่ถูกจำเลยฟ้องแย้ง โจทก์เดิมที่ฟ้องจำเลยเมื่อถูกจำเลยฟ้องแย้ง โจทก์เดิมก็มีฐานะเป็นจำเลยในส่วนฟ้องแย้ง จึงมีหน้าที่ต้องยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้งภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้ส่งคำให้การถึงโจทก์ ตามาตรา 178 วรรคหนึ่ง ถ้าโจทก์ไม่ยื่นคำให้การแก้ฟ้องนั้น มาตรา 199 ฉ บัญญัติว่า "ในกรณีที่โจทก์มิได้ให้การแก้ฟ้องแย้งของจำเลยภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ ให้นำบทบัญญัติในส่วนที่ 1 นี้มาใช้บังคับเพียงเท่าที่เกี่ยวกับฟ้องแย้งเช่นว่านั้นโดยอนุโลม" หมายความว่า โจทก์ก็จะขาดนัดยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้งทันที คดีในส่วนฟ้องแย้งก็จะดำเนินไปแบบคดีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ
(3) ผู้ร้องสอดที่ถูกหมายเรียกให้เข้ามาเป็นจำเลยร่วมในคดีตามมาตรา 57(3) ต้องยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้งด้วย ตามมาตรา 177 วรรคสุดท้าย "บทบัญญัติแห่งมาตรานี้ ให้ใช้บังคับแก่บุคคลภายนอกที่ถูกเรียกเข้ามาเป็นผู้ร้องสอดตามมาตรา 57(3) โดยอนุโลม" ถ้าไม่ยื่นก็ขาดนัดยื่นคำให้การ แต่ถ้าเรียกเข้ามาเป็นโจทก์ร่วม ไม่มีหน้าที่ยื่นคำให้การ
มาตรา 177 เมื่อได้ส่งหมายเรียกและคำฟ้องให้จำเลยแล้ว ให้จำเลยทำคำให้การเป็นหนังสือยื่นต่อศาลภายใน 15 วัน
ในคำให้การให้จำเลยระบุโดยชัดแจ้งว่า ยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือบางส่วน รวมทั้งเหตุผล
ให้ศาลตรวจดูคำให้การนั้นแล้วสั่ง รับไว้ หรือให้คืนไป หรือไม่รับ
ใช้บังคับถึงบุคคลภายนอกที่ถูกเรียกเข้ามาเป็นผู้ร้องสอดตามมาตรา 57 ( 3 ) ( บุคคลภายนอกถูกหมายเรียกเข้ามาในคดี )
แบบของคำให้การ
ตามปกติคำให้การต้องทำเป็นหนังสือ (ป.วิ.แพ่ง มาตรา 177 วรรคแรก) เว้นแต่คดีมโนสาเร่ และคดีที่ไม่มีข้อยุ่งยาก จำเลยอาจให้การด้วยวาจาได้ (ป.วิ.แพ่ง มาตรา 193 วรรคสอง และมาตรา 196 วรรคสอง(2))
การเรียงคำให้การ
ป.วิ.แพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง บัญญัติว่า “ให้จำเลยแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่าจำเลยยอมรับ หรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือบางส่วนรวมทั้งเหตุแห่งการนั้น”
จากมาตรา 177 วรรคสองนี้ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการเรียงคำให้การไว้ 2 ประการคือ
1. ต้องแสดงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยยอมรับ หรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้น หรือแต่บางส่วน
2. ต้องแสดงเหตุแห่งการนั้น
จากหลักเกณฑ์สำคัญ 2 ประการนี้ จะเห็นว่าเป็นการบังคับด้านจำเลยให้ต่อสู้คดี โจทก์โดยชัดแจ้งว่าจะยอมรับตามฟ้องโจทก์ หรือจะปฏิเสธก็ได้ แต่ต้องแสดงเหตุแห่งการนั้นไว้ ส่วนการปฏิเสธโดยไม่ใช้เหตุผลเรียกว่า “ปฏิเสธลอย” การปฏิเสธลอยนี้จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องสืบ เช่น คำพิพากษาฎีกาที่ 965/2495 คำให้การของจำเลยให้การตัดฟ้องว่าจอมพล ป.พิบูลสงคราม ไม่มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมายที่จะลงนามแทนสำนักนายกรัฐมนตรีได้ จำเลยหาได้ยกข้อเท็จจริงขึ้นกล่าวอ้างเพื่อให้เป็นประเด็นในศาลวินิจฉัยว่าด้วยเหตุใด หรือวิธีการอย่างใดจึงไม่มีอำนาจทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายข้อใด จริงอยู่ข้อเท็จจริงบางข้อศาลต้องรู้เอง แต่คู่ความต้องกล่าวอ้างขึ้นมาเพื่อเป็นประเด็นแห่งคดี แม้แต่ข้อกฎหมายผู้กล่าวอ้าง ยิ่งต้องกล่าวอ้างเพื่อต่อสู้เช่นเดียวกัน ฉะนั้น เมื่อกล่าวอ้างแต่เพียงว่าไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงไม่เกิดประเด็นต่อสู้ขึ้นมาในคดี ทั้งยังไม่เป็นประเด็นที่นำสืบได้ (ฎีกาที่ 1882/2497, 231-232/2509 ตัดสินทำนองเดียวกัน)
ข้อสังเกต คำพิพากษาฎีกาที่ 968/95 นี้ เป็นเรื่องจำเลยให้การตัดฟ้องว่า ผู้ลงชื่อในฟ้องไม่มีอำนาจที่จะลงชื่อ แต่มิได้ยกข้อเท็จจริงขึ้นกล่าวอ้างประการใดเลยว่าเป็นเพราะเหตุใดจึงไม่มีอำนาจเช่นนั้น จึงไม่มีประเด็นในคดี
คำพิพากษาฎีกาที่ 218/2488 กล่าวว่า “ข้อใดที่จำเลยไม่ปฏิเสธ หรือต่อสู้ไว้ในข้อใด ย่อมไม่เป็นประเด็นในคดี ประเด็นในคดีก็คือข้อทุ่มเถียงของคู่ความเมื่อไม่ได้โต้เถียงไว้โจทก์ก็ไม่ต้องนำสืบในข้อนั้น”
คำพิพากษาฎีกาที่ 222/2508 วินิจฉัยว่า คำให้การที่ว่า “โจทก์มอบอำนาจให้ฟ้องตามใบมอบอำนาจจริงหรือไม่จำเลยไม่ทราบ ไม่รับรอง หนังสือมอบอำนาจไม่สมบูรณ์” ดังนี้ เป็นแต่เพียงจำเลยปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ แต่มิได้แสดงเหตุแห่งการปฏิเสธ จึงไม่มีสิทธินำสืบพยานถึงเหตุแห่งการนั้น
คำพิพากษาฎีกาที่ 1648/2509 โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นบิดาผู้ปกครองผู้ตาย จำเลยต่อสู้ว่าโจทก์จะมีอำนาจฟ้องหรือไม่ ไม่ทราบ ไม่รับรอง ดังนี้ถือว่ามิได้ปฏิเสธ หรือยกเป็นข้อต่อสู้ว่าโจทก์มิได้เป็นบิดาผู้ปกครองผู้ตาย จำเลยไม่มีประเด็นที่จะนำสืบ
คำพิพากษาฎีกาที่ 536/2513 จำเลยถูกฟ้องในฐานะผู้คํ้าประกันได้ให้การว่า ตนจะได้ลงชื่อเป็นผู้คํ้าประกันหรือเปล่า จำไม่ได้ สัญญากู้ และสัญญาคํ้าประกันจำเลยไม่รับรองและไม่ยืนยัน ดังนี้ถือว่าจำเลยมิได้ให้การรับหรือปฏิเสธจึงไม่มีประเด็นที่จะนำสืบ
จากคำพิพากษาฎีกาที่กล่าวมาข้างต้นนี้ เป็นเรื่องคำให้การที่ว่า ไม่ทราบ ไม่รับรอง ไม่ยืนยัน ซึ่งถือว่าเป็นคำให้การปฏิเสธที่ไม่ชัดแจ้ง และไม่ใช่เหตุผลหรือที่เรียกว่า “ปฏิเสธลอย” จึงไม่มีประเด็นที่จะนำพยานมาสืบ แต่ได้มีคำพิพากษาฎีกาอีกสองเรื่องที่ตัดสินไว้ตรงกันข้ามคือคำพิพากษาฎีกาที่ 1011/2498 (ประชุมใหญ่) และ คำพิพากษาฎีกาที่ 225/2518 ให้หลักว่าคำให้การของจำเลยที่ว่าที่พิพาทจะเป็นสินเดิมของโจทก์หรือไม่ จำเลยไม่ทราบ ดังนี้ถือว่าจำเลยได้ให้การปฏิเสธแล้ว
ในคำพิพากษาฎีกาทั้งสองเรื่องนี้ตัดสินว่าที่จำเลยให้การว่าไม่ทราบและไม่ได้ให้เหตุผลไว้นี้ ถือว่าจำเลยได้ให้การปฏิเสธแล้ว จึงไม่มีประเด็นที่จะนำพยานมาสืบต่อไป
ดังนี้เมื่อได้รับหมายศาลแล้ว ควรติดต่อทนายความเพื่อปรึกษาหารือในการทำคำให้การแก้คดีต่อไป
ทนาย กอบเกียรติ นบ.นบท.0864031447