ทนายความยื่นคำแก้อุทธรณ์ คำแก้ฎีกา
การเขียนคำแก้อุทธรณ์และแก้ฎีกา
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว คู่ความอีกฝ่ายที่ไม่พอใจผลคำพิพากษามีสิทธิยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นได้ ภายใต้หลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด โดยศาลจะส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยอุทธรณ์ทราบ และให้ทำคำแก้อุทธรณ์ภายในกำหนด ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับสำเนาอุทธรณ์ แต่หากเป็นการรับสำเนาอุทธรณ์โดยวิธีการปิดหมายนั้น การนับระยะเวลามกฎหมายจะยาวออก รวมเป็น ๓๐ วัน หากไม่สามารถยื่นคำแก้อุทธรณ์ได้ทันภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดดังกล่าวแล้ว คู่ความจะต้องยื่นขอขยายระยะเวลาต่อศาลมิฉะนั้นจะไม่สามารถยื่นคำแก้อุทธรณ์ได้ ทำให้ดีนั้นๆ จะมีแต่เพียงประเด็นข้ออ้างตามคำฟ้องอุทธรณ์ของฝ่ายที่อุทธรณ์เท่านั้น ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งจะเสียสิทธิโอกาสในการต่อสู้คดี ชี้แจงข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายให้ศาลทราบในชั้นอุทธรณ์
หากยื่นไม่ทันกำหนดดังกล่าวศาลก็จะรับได้เป็นเพียงคำแถลงการณ์เท่านั้น ซึ่งคำแก้อุทธรณ์นั้นถือเป็นคำคู่ความจึงก่อให้เกิดประเด็นที่ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ ส่วนคำแถลงการณ์ รวมทั้งคำแก้อุทธรณ์ที่ยื่นไม่ทันกำหนดและศาลรับไว้เป็นเพียงคำแถลงการณ์นั้นไม่ใช่คำคู่ความจึงไม่อาจตั้งประเด็นในคดีได้ ผลการไม่ยื่นคำแก้อุทธรณ์หรือยื่นไม่ทันดังกล่าวทำให้คดีไม่อาจตั้งประเด็นในชั้นอุทธรณ์ตามคำแก้อุทธรณ์ได้ แต่คดีคงมีประเด็นในชั้นอุทธรณ์เฉพาะตามคำฟ้องอุทธรณ์เท่านั้น และต่อไปหากคดีดังกล่าวขึ้นสู่ศาลฎีกาจะสามารถฎีกาได้เฉพาะในประเด็นที่ได้ว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้อนและศาลอุทธรณ์เท่านั้น
การเขียนและเรียงคำแก้อุทธรณ์นั้น จะอธิบายให้ศาลทราบถึงหลักกฎหมายและการปรับบทข้อเท็จจริงกับข้อกฎหมายว่าคดีดังกล่าวนั้นศาลควรจะตัดสินอย่างไร ในลักษณะเป็นการกล่าวแก้คำฟ้องอุทธรณ์ ว่าไม่ถูกต้องทีศาลชั้นต้นตัดสินมานั้นถูกต้องแล้วด้วยเหตุผล การเขียนคำแก้อุทธรณ์ นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นต้องใช้ความรู้ด้านกฎหมายเป็นอย่างมาก ซึ่งจำเป็นต้องให้ทนายความเป็นผู้จัดทำ โดยอาจเป็นทนายความคนเดิมหรือแต่งตั้งทนายความคนใหม่ก็ได้
ส่วนการยื่นคำฎีกาก็เป็นหลักเกณฑ์เดียวกันกับการแก้อุทธรณ์
ค่าใช้จ่ายยื่นคำแก้อุทธรณ์
เริ่มต้นท่ี บาท