ทนายความคดีหมิ่นประมาท

ความผิดฐานหมิ่นประมาท อัตราโทษ และรวมกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 326 ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะ ทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำ

ความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือ ปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ 

มาตรา 327 ผู้ใดใส่ความผู้ตายต่อบุคคลที่สามและการใส่ความนั้น น่าจะเป็นเหตุให้ บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้ตายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษดังบัญญัติไว้ใน มาตรา 326 นั้น 

มาตรา 328 ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณา ด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ ทำให้ปรากฏด้วยวิธีใด ๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร กระทำโดยการกระจายเสียง หรือการกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท 

         มาตรา 329 ผู้ใดแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริต

 (1) เพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับ

ตนตามคลองธรรม

 (2) ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่

 (3) ติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัย ของประชาชนย่อมกระทำ หรือ

 (4) ในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรม เรื่องการดำเนินการอันเปิด เผยในศาลหรือในการประชุม

ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท 

มาตรา 330 ในกรณีหมิ่นประมาท ถ้าผู้ถูกหาว่ากระทำความผิด พิสูจน์ได้ว่าข้อที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นความจริง ผู้นั้นไม่ต้อง รับโทษ

    แต่ห้ามไม่ให้พิสูจน์ ถ้าข้อที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นการใส่ ความในเรื่องส่วนตัว และการพิสูจน์จะไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน 

มาตรา 331 คู่ความ หรือทนายความของคู่ความ ซึ่งแสดงความคิด เห็น หรือข้อความในกระบวนพิจารณาคดีในศาล เพื่อประโยชน์แก่คดี ของตน ไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท 

    มาตรา 332 ในคดีหมิ่นประมาทซึ่งมีคำพิพากษาว่าจำเลยมีความ ผิด ศาลอาจสั่ง

 (1) ให้ยึด และทำลายวัตถุหรือส่วนของวัตถุที่มีข้อความหมิ่นประมาท

 (2) ให้โฆษณาคำพิพากษาทั้งหมด หรือแต่บางส่วนในหนังสือ พิมพ์หนึ่งฉบับหรือหลายฉบับครั้งเดียวหรือหลายครั้งโดยให้จำเลย เป็นผู้ชำระค่าโฆษณา 

มาตรา 333 ความผิดในหมวดนี้เป็นความผิดอันยอมความได้ 

ถ้าผู้เสียหายในความผิดฐานหมิ่นประมาทตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดามารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ ถือว่าเป็นผู้เสียหาย

 

จะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทได้ต้องครบองค์ประกอบความผิดฐานหมิ่นประมาท

1.ผู้ใด ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล (ผู้ถูกหมิ่นประมาทก็เช่นกัน)

2.ใส่ความผู้อื่น  หมายถึงการยืนยันข้อเท็จจริงซึ่งอาจเป็นความจริงก็ได้หรือเป็นความเท็จก็ได้ การใส่ความ ไม่จ กัดวิธี เช่น ใช้คำพูด ให้ความหมายหรือแ แสดงสัญลักษณ์การเล่าเรื่องที่ได้ยินมาให้กับบุคคลอื่นฟัง เอกสาร ภาพ หรือสื่ออื่น ๆ

               ข้อเท็จจริงนั้นต้องไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่เป็นเพียงแต่ คำหยาบ หรือ เป็นข้อเท็จจริงที่เป็นไม่ได้ เช่น

        คำพิพากษาฎีกาที่ 256/2509 ความผิดฐานหมิ่นประมาทนั้น ต้องเป็นการแสดง ข้อความให้คนฟังคนเห็นเชื่อจึงจะเกิดความรู้สึกเกลียดชัง ดูหมิ่นขึ้นได้จำาเลยกล่าวว่าโจทก์ เป็น ผีปอบ เป็นชาติหมาความรู้สึกนึกคิดของคนธรรมดาไม่เชื่อว่าเป็นเช่นนั้นไปได้จึงไม่ ก่อให้เกิดความเกลียดชังหรือดูหมิ่นอย่างใด และข้อความใดจะเป็นการท าให้เสียหายแก่ ชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง ต้องถือตามความคิดของบุคคลธรรมดาผู้ได้เห็นได้ฟัง

         ข้อเท็จจริงนั้นต้องเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงที่ยืนยันในอดีตหรือในปัจจุบันไม่ใช่ เป็นแต่เพียงการคาดคะเนหรือกล่าวถึงเหตุการณ์ในอนาคต  เป็นต้น

       ข้อเท็จจริงนั้นต้องเป็นข้อเท็จจริงที่แน่นอน ไม่คลุมเครือ เลื่อนลอย หรือกล่าวด้วยความน้อยใจ 
          คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 121/2490  ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อความในจดหมายของจำเลยหาได้มีข้อความว่า โจทก์เป็นผู้ร้ายปล้น ฉ้อ, ยักยอกดังกล่าวในฟ้องใน และโจทก์มิได้กล่าวในฟ้องให้ชัดแจ้งว่า

3.ต่อบุคคลที่สาม ต้องเป็นการใส่ความต่อบุคคลที่สาม ความผิดฐานหมิ่นประมาทจะสำเร็จก็ต่อเมื่อบุคคลที่สามได้ทราบข้อความและเข้าใจ ข้อความ ดังนั้นถ้าบุคคลที่สามไม่ได้รับข้อความหรือไม่รู้เรื่องหรือเป็นชาว ต่างประเทศที่ไม่เข้าใจภาษาก็เป็นความผิดฐานพยายามหมิ่นประมาท คำพิพากษาฎีกาที่ 23/2474 พูดกับ ก. เป็นภาษาไทย เป็นหมิ่นประมาท ก. ต่อหน้า ข. ซึ่งเป็นฝรั่ง โดยผู้พูดคิดว่าฝรั่งไม่เข้าใจภาษาไทย ไม่ทราบว่าฝรั่งคนนั้นฟังภาษาไทยที่พูด เข้าใจ ไม่เป็นหมิ่นประมาท ก. ต่อบุคคลที่สาม ถึงแม้ ก.จะแปลภาษาไทยเป็นฝรั่งให้ฝรั่งฟังก็ ไม่ใช่การกระท าของผู้ถูกกล่าวภาษาไทยตอนแรก

4. โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่น เสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่น  หรือ ถูกเกลียดชy'

5.กระทำโดยเจตนาเจตนา ถ้าขาดเจตนาก็ไม่มีความผิด  

         คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6310/2539  จำเลยนำแถบบันทึกเสียงที่มีผู้สนทนากันกล่าวถึงผู้เสียหายทั้งสองมีพฤติกรรมในทางชู้สาวต่อกันที่โรงเรียนที่ผู้เสียหายทั้งสองสอนอยู่ไปเปิดให้นาย ส.ม.หัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอกับพวกฟังที่บ้านของนาย ส.ม.โดยเกิดจากการแนะนำของนาย ส.กับนายส.ม. และผู้ร่วมฟังแถบบันทึกเสียงก็เป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับวงการศึกษาทั้งสิ้น ทั้งไม่ใช่เปิดในที่สาธารณสถานเป็นทำนองปรึกษาหารือกันว่าจะทำอย่างไรต่อไป เพราะหากผู้เสียหายทั้งสองกระทำการในทางชู้สาวจริง นอกจากจะผิดต่อศีลธรรมแล้วยังผิดในทางวินัยข้าราชการอีกด้วย เนื่องจากผู้เสียหายทั้งสองต่างรับราชการเป็นครูและต่างมีสามีและภรรยาแล้ว ดังนั้น การกระทำดังกล่าวจึงไม่มีเจตนาที่จะใส่ความผู้เสียหายทั้งสองให้ถูกดูหมิ่นเกลียดชังหรือเสียหาย แต่เป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำจำเลยไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท
          คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 110/2526  จำเลยส่งจดหมายที่มีข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงโจทก์ดโยตรง ณ สำนักงานโจทก์ แสดงเจตนาจำเลยว่าจะให้โจทก์ทราบเท่านั้น มิใช่เจตนาใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่สาม แม้เสมียนของโจทก์ทราบข้อความในจดหมายก็เป็นเรื่องที่นอกเหนือเจตนาของจำเลย จำเลยไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท

อย่างไรถือว่าไม่หมิ่นประมาท มีข้อต่อสู้อย่างไร ตัวอย่างเช่น

 1.1 ต่อสู้ว่า ข้อความกล่าวนั้น ไม่ได้เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงเป็นเพียงการคาดคะเนเป็นคำขู่

ฎีกาที่2180 / 2531 และฎีกาที่1201 / 2505จำเลยซึ่งเป็นตำรวจไปจับแผ่นกระดาษจดหมายเลขสลากกินรวบที่นางพีเป็นผู้ขาย ก่อนจับได้ก็มีการยื้อแย่งกันและจับได้บนบ้านของโจทก์ จำเลยพูดกับโจทก์ว่า เดี๋ยวจับเป็นอันธพาลทั้งพ่อทั้งลูก(โจทก์ที่เป็นบุตรสาวของโจทก์ที่1) ดังนี้ ไม่มีมูลเป็นความผิดฐานใส่ความหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา326 เพราะจำเลยมิได้กล่าวว่าโจทก์ทั้งสองเป็นบุคคลอันธพาล เป็นคำขู่เพื่อมิให้โจทก์ทั้งสองเข้าขัดขวางช่วยเหลือผู้กระทำผิดเท่านั้น

1.2 ต่อสู้ว่าเป็นการเปรียบเทียบเลื่อนลอยไม่ยืนยันข้อเท็จจริง

ฎีกา42 6/62520ส่งข่าวไปลงหนังสือพิมพ์ว่า ส. เป็นนายทุนขูดรีดจนถึงขนาดถูกสอบสวนว่าเป็นภัยต่อสังคม เป็นคำกล่าวหมิ่นประมาทและไม่เป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต ที่กล่าวว่าเป็น ส. ส. ขบวนการปลาทูเป็นการเปรียบเทียบเลื่อนลอยไม่ยืนยันข้อเท็จจริงไม่เป็นหมิ่นประมาท

1.3 ต่อสู้ว่า  ข้อความเป็นเพียงคำไม่สุภาพ  ไม่เป็นการใส่ความ

 ฎีกา576 / 2550คำฟ้องโจทก์อ้างเหตุประการแรกว่า จำเลยที่หมิ่นประมาทโจทก์ด้วยถ้อยคำว่า "โจทก์ยกที่ดินให้แล้ว ยังจะเอาคืน เสือกโง่เอง อย่าหวังว่าจะได้สมบัติคืนเลย" ข้อความนี้ เป็นเพียงการกล่าวถ้อยคำไม่สุภาพเท่านั้น ไม่ถึงขนาดเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์หรือทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงแต่อย่างใด ดังนั้นแม้หากจะฟังได้ว่า จำเลยที่กล่าวถ้อยคำตามคำฟ้องจริงก็ไม่เป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิเพิกถอนการให้ จึงไม่จำต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยที่ได้กล่าวข้อความตามคำฟ้องหรือไม่ฎีกา72/ 2525ฎีกาที่9627 / 2555

1.4 ฎีกาที่256 / 2509ต่อสู้ว่า การกล่าวข้อความที่เป็นไปไม่ได้ไม่ทำให้คนเชื่อ ไม่เกิดความรู้สึกเกลียดชังดูหมิ่น เช่น ด่าเป็นปอบ เป็นชาติหมา

1.5 ต่อสู้ว่า การกล่าวถึงกลุ่มบุคคลโดยไม่ได้ได้ระบุเฉพาะเจาะจงว่าหมายถึงใครผู้ใดและไม่อาจเข้าใจได้ว่าหมายถึงใครไม่เป็นการหมิ่นประมาท

 ฎีกาที่1325 / 2498กรณีที่จะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทข้อความที่กล่าวจะต้องมุ่งเจาะจงถึงบุคคลใดโดยเฉพาะ และโจทก์จะต้องนำสืบให้ได้ความถึงบุคคลผู้ถูกหมิ่นประมาทนั้นด้วยเมื่อในคำโฆษณามีความหมายเฉพาะนายแพทย์ชายคนหนึ่งไม่มีกินความถึงนายแพทย์ทุก ๆ คนของโรงพยาบาลศิริราช ทั้งโจทก์หาได้นำสืบถึงนายแพทย์คนที่ถูกใส่ความหมิ่นประมาทก็ย่อมทราบไม่ได้ว่านายแพทย์คนใดเป็นผู้เสียหายเมื่อตามคำฟ้องไม่มีช่องทางแสดงให้เห็นว่าจำเลยมุ่งหมายกล่าวใส่ความถึงนายแพทย์เฉลิม นายแพทย์เฉลิมจึงมิใช่ผู้เสียหายอันจะพึงร้องทุกข์ได้

1.6 ไม่ถึงขนาดเป็นการใส่ความให้เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง ไม่เป็นหมิ่นประมาท เพราะข้อความที่จะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทนั้นต้องพิจารณาถึงความรู้สึกวิญญูชนทั่วๆไปเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาไม่ใช่พิจารณาถึงความรู้สึก ของผู้ถูกหมิ่นประมาทเพียงฝ่ายเดียว

   ฎีกา2777/2545วันนัดสืบพยานโจทก์ ระหว่างผู้พิพากษารออ่านรายงานกระบวนพิจารณา จำเลยได้พูดต่อหน้าผู้พิพากษา ทนายจำเลยและพยานว่า "ทนายความคนนี้ใช้ไม่ได้ ทั้งประเทศไทยมีทนายความแบบนี้อยู่คนเดียว ชอบหาเรื่องกลั่นแกล้งจำเลย ประเทศชาติอยู่ไม่ได้แน่ ถ้ายังมีทนายความประเภทนี้ อย่าปล่อยให้คนชั่วลอยนวล" และเมื่อผู้พิพากษาตักเตือน จำเลยยังพูดต่ออีกว่า "ท่านครับอย่าปล่อยให้คนชั่วลอยนวล" เป็นการระบายความรู้สึกของจำเลยที่มีต่อโจทก์และเป็นการวิจารณ์การทำงานในหน้าที่ทนายความของโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายตรงข้ามกับจำเลยในความรู้สึกว่าจำเลยถูกกลั่นแกล้งมิใช่เป็นการใส่ความให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง ไม่เป็นหมิ่นประมาท

1.7 การเบิกความในฐานะพยานตอบคำถามไปตามหน้าที่ของพยานไม่มีเจตนาใส่ความผู้อื่นให้ไม่ผิดฐานมินประมาท ฎีกา 249 / 2510

1.8 การทะเลาะโต้เถียงกันด้วยความโกรธถ้อยคำโต้ตอบกันถือว่าไม่มีเจตนาใส่ความ ไม่เป็นความผิดฐาน หมิ่นประมาท

 ฎีกา1545 / 2513ฟ้องหาว่าจำเลยหมิ่นประมาทใส่ความ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าถ้อยคำที่จำเลยกล่าวเป็นถ้อยคำตอบโต้หรือย้อนคำโจทก์ต่างคนต่างว่าซึ่งกันและกันในการทะเลาะโต้เถียงกัน จะถือเป็นถ้อยคำที่จำเลยเจตนาใส่ความอันเข้าลักษณะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทไม่ได้โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้อง

1.9 การต่อสู้โดยการพิสูจน์ได้ว่าข้อความที่กล่าวหาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นความจริงผู้นั้นไม่ต้องรับโทษมาตรา330 วรรคแรก แต่ห้ามไม่ให้พิสูจน์ถ้าข้อความ นั้นเป็นเรื่องส่วนตัวและการพิสูจน์จะไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนตาม330 วรรคท้าย

2.0 ข้อยกเว้นตามมาตรา329.  331 ซึ่งบัญญัติว่า.....

มาตรา329 ผู้ใดแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริต

(1) เพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับ

ตนตามคลองธรรม

(2) ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่

(3) ติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัย ของประชาชนย่อมกระทำ หรือ

(4) ในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรม เรื่องการดำเนินการอันเปิด เผยในศาลหรือในการประชุม

ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท 

 

มาตรา331 คู่ความ หรือทนายความของคู่ความ ซึ่งแสดงความคิด เห็น หรือข้อความในกระบวนพิจารณาคดีในศาล เพื่อประโยชน์แก่คดี ของตน ไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท

3.ข้อต่อสู้ว่าตนไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิด

 

ทค.กอบเกียรติ 

Visitors: 146,416