สามีภริยาอยู่กินกันโดยไม่จดทะเบียนสมรสจะมีสิทธิตามกฎหมายครอบครัวอย่างใดบ้าง
สามีภริยาไม่ได้จดทะเบียนสมรสมีสิทธิทางกฎหมายครอบครัวอย่างไรบ้าง
มีสิทธิหลายประการที่สำคัญ
เช่น
๑.ร้องขอให้ฝ่ายชายจดทะเบียนรับรองบุตร
ให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย
๒.ฟ้องขอให้รับรองบุตร
และ เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์
๓.ฟ้องแบ่งกรรมสิทธิ์รวมทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน
๔.สิทธิตากฎหมายอื่น
แล้วแต่กรณี เช่น ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันมาเมื่อสามีหรือภริยาถึงแก่กรรม
ฟ้องร้องเพื่อจัดการทรัพย์สินที่เป็นกรรสิทธิ์รวม
คดีเกี่ยวกับข้อตกลงหรือสัญญาต่าง ๆ ดำเนินคดีแพ่งและอาญา เป็นต้น
๑.ฟ้องบิดาขอให้รับเด็กเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย
ตาม ปพพ.มาตรา ๑๕๕๕ ในคดีฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งอย่างใด
ดังต่อไปนี้
(๑) เมื่อมีการข่มขืนกระทำชำเรา
ฉุดคร่า
หรือหน่วงเหนี่ยวกักขังหญิงมารดาโดยมิชอบด้วยกฎหมายในระยะเวลาซึ่งหญิงนั้นอาจตั้งครรภ์ได้
(๒)
เมื่อมีการลักพาหญิงมารดาไปในทางชู้สาวหรือมีการล่อลวงร่วมประเวณีกับหญิงมารดาในระยะเวลาซึ่งหญิงนั้นอาจตั้งครรภ์ได้
(๓) เมื่อมีเอกสารของบิดาแสดงว่าเด็กนั้นเป็นบุตรของตน
(๔)
เมื่อปรากฏในทะเบียนคนเกิดว่าเด็กเป็นบุตรโดยมีหลักฐานว่าบิดาเป็นผู้แจ้งการเกิดหรือรู้เห็นยินยอมในการแจ้งนั้น
(๕)
เมื่อบิดามารดาได้อยู่กินด้วยกันอย่างเปิดเผยในระยะเวลาซึ่งหญิงมารดาอาจตั้งครรภ์ได้
(๖) เมื่อได้มีการร่วมประเวณีกับหญิงมารดาในระยะเวลาซึ่งหญิงนั้นอาจตั้งครรภ์ได้
และมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเด็กนั้นมิได้เป็นบุตรของชายอื่น
(๗)
เมื่อมีพฤติการณ์ที่รู้กันทั่วไปตลอดมาว่าเป็นบุตร
พฤติการณ์ที่รู้กันทั่วไปตลอดมาว่าเป็นบุตรนั้น
ให้พิจารณาข้อเท็จจริงที่แสดงความเกี่ยวข้องฉันบิดากับบุตรซึ่งปรากฏในระหว่างตัวเด็กกับครอบครัวที่เด็กอ้างว่าตนสังกัดอยู่
เช่น บิดาให้การศึกษา
ให้ความอุปการะเลี้ยงดูหรือยอมให้เด็กนั้นใช้ชื่อสกุลของตนหรือโดยเหตุประการอื่น
ในกรณีใดกรณีหนึ่งดังกล่าวข้างต้น
ถ้าปรากฏว่าชายไม่อาจเป็นบิดาของเด็กนั้นได้ ให้ยกฟ้องเสีย
๑.ร้องขอให้ฝ่ายชายจดทะเบียนรับรองบุตร
เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย
มาตรา ๑๕๕๖ การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรในระหว่างที่เด็กเป็นผู้เยาว์
ถ้าเด็กมีอายุยังไม่ครบสิบห้าปีบริบูรณ์ ผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กเป็นผู้ฟ้องแทน
ในกรณีที่เด็กไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรม หรือมีแต่ผู้แทนโดยชอบธรรมไม่สามารถทำหน้าที่ได้
ญาติสนิทของเด็กหรืออัยการอาจร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้แทนเฉพาะคดีเพื่อทำหน้าที่ฟ้องคดีแทนเด็กก็ได้
เมื่อเด็กมีอายุสิบห้าปีบริบูรณ์
เด็กต้องฟ้องเอง ทั้งนี้ โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรม
ในกรณีที่เด็กบรรลุนิติภาวะแล้ว
จะต้องฟ้องคดีภายในหนึ่งปีนับแต่วันบรรลุนิติภาวะ
ในกรณีที่เด็กตายในระหว่างที่เด็กนั้นยังมีสิทธิฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรอยู่
ผู้สืบสันดานของเด็กจะฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรก็ได้
ถ้าผู้สืบสันดานของเด็กได้รู้เหตุที่อาจขอให้รับเด็กเป็นบุตรมาก่อนวันที่เด็กนั้นตาย
ผู้สืบสันดานของเด็กจะต้องฟ้องภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่เด็กนั้นตาย
ถ้าผู้สืบสันดานของเด็กได้รู้เหตุที่อาจขอให้รับเด็กเป็นบุตรภายหลังที่เด็กนั้นตาย
ผู้สืบสันดานของเด็กจะต้องฟ้องภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่รู้เหตุดังกล่าว แต่ทั้งนี้
ต้องไม่พ้นสิบปีนับแต่วันที่เด็กนั้นตาย
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรในระหว่างที่ผู้สืบสันดานของเด็กเป็นผู้เยาว์
ให้นำความในวรรคหนึ่งและวรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม
๒.ฟ้องขอให้รับรองบุตร
และ เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์
ตามบทบัญญัติ
ปพพ.มาตรามาตรา1598/38 ค่าอุปการะเลี้ยงดูระหว่างสามีภริยา หรือระหว่าง บิดามารดากับบุตรนั้น
ย่อมเรียกจากกันได้เมื่อฝ่ายที่ควรได้รับอุปการะ
เลี้ยงดูไม่ได้รับการอุปการะเลี้ยงดู หรือได้รับการอุปการะเลี้ยงดูไม่
เพียงพอแก่อัตภาพ ค่าอุปการะเลี้ยงดูนี้ศาลอาจให้เพียงใดหรือไม่ให้ก็ได้
โดยคำนึงถึงความสามารถของผู้มีหน้าที่ต้องให้ ฐานะของผู้รับและ พฤติการณ์แห่งกรณี
มาตรา1598/39 เมื่อผู้มีส่วนได้เสียแสดงว่าพฤติการณ์รายได้
หรือฐานะของคู่กรณีได้เปลี่ยนแปลงไป
ศาลจะสั่งแก้ไขในเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูโดยให้เพิกถอน ลด เพิ่ม
หรือกลับให้ค่าอุปการะเลี้ยงดู อีกก็ได้
ในกรณีที่ศาลไม่พิพากษาให้ค่าอุปการะเลี้ยงดู
เพราะเหตุแต่เพียง
อีกฝ่ายหนึ่งไม่อยู่ในฐานะที่จะให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูได้ในขณะนั้น หาก
พฤติการณ์รายได้ หรือฐานะของอีกฝ่ายหนึ่งนั้นได้เปลี่ยนแปลงไป และพฤติการณ์ รายได้
หรือฐานะของผู้เรียกร้องอยู่ในสภาพที่ควร ได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดู
ผู้เรียกร้องอาจร้องขอให้ศาลเปลี่ยนแปลง คำสั่งในคดีนั้นใหม่ได้
มาตรา1598/40 ค่าอุปการะเลี้ยงดูนั้นให้ชำระเป็นเงินโดยวิธีชำระ
เป็นครั้งคราวตามกำหนด เว้นแต่คู่กรณีจะตกลงกันให้ชำระเป็นอย่างอื่น
ถ้าไม่มีการตกลงกันและมีเหตุพิเศษ เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอและ
ศาลเห็นสมควรจะกำหนดให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูเป็นอย่างอื่นหรือโดย วิธีอื่น
โดยจะให้ชำระเป็นเงินด้วยหรือไม่ก็ได้
๓.ฟ้องแบ่งกรรมสิทธิ์รวมทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ที่เกี่ยวข้อง
มาตรา
1363 เจ้าของรวมคนหนึ่งๆ มีสิทธิเรียกให้แบ่งทรัพย์สินได้
เว้นแต่จะมีนิติกรรมขัดอยู่
หรือถ้าวัตถุที่ประสงค์ที่เป็นเจ้าของรวมกันนั้นมีลักษณะเป็นการถาวร
ก็เรียกให้แบ่งไม่ได้
สิทธิเรียกให้แบ่งทรัพย์สินนั้น
ท่านว่าจะตัดโดยนิติกรรมเกินคราวละ 10 ปีไม่ได้
ท่านว่าเจ้าของรวมจะเรียกให้แบ่งทรัพย์สินในเวลาที่ไม่เป็นโอกาสอันควรไม่ได้
มาตรา
1364 การแบ่งทรัพย์สินพึงกระทำโดยแบ่งทรัพย์สินนั้นเองระหว่างเจ้าของรวม
หรือโดยขายทรัพย์สินแล้วเอาเงินที่ขายได้แบ่งกัน
ถ้าเจ้าของรวมไม่ตกลงกันว่าจะแบ่งทรัพย์สินอย่างไรไซร้
เมื่อเจ้าของรวมคนหนึ่งคนใดขอ ศาลอาจสั่งให้เอาทรัพย์สินนั้นออกแบ่ง
ถ้าส่วนที่แบ่งให้ไม่เท่ากันไซร้ จะสั่งให้ทดแทนกันเป็นเงินก็ได้
ถ้าการแบ่งเช่นว่านี้ไม่อาจทำได้หรือจะเสียหายมากนักก็ดี
ศาลจะสั่งให้ขายโดยประมูลราคากันระหว่างเจ้าของรวมหรือขายทอดตลาดก็ได้
๔.ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันมาเมื่อสามีถึงแก่กรรม
สามีหรือภรรยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส(ไม่ชอบด้วยกฎหมาย)ซึ่งอยู่กินกันมีทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันถือว่าทรัพย์สินดังกล่าวเป็นเจ้าของร่วมระหว่างสามีภรรยาสามีหรือภริยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น จึงถือเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
ในทรัพย์สินซึ่งเป็นมรดกนั้นนั้น
แต่หากระหว่างอยู่กินด้วยกันไม่มีทรัพย์สินไม่เกิดขึ้นไม่มีทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียและไม่มีสิทธิ์
ร้องจัดการมรดก
ผู้เขียน : ทนายกอบเกียรติ นท.นบท.0864031447