หลักเกณฑ์การขอลดโทษคดียาเสพติดมาตรา 100/2 มีอะไรบ้าง
หลักเกณฑ์ การขอลดโทษคดียาเสพติด มาตรา 100/2
พรบ.ยาเสพติด มาตรา ๑๐๐/๒ บัญญัติว่า ถ้าศาลเห็นว่าผู้กระทำความผิดผู้ใดได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโ ยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อพนักงานฝ่ายปก ครอง หรือตำรวจ หรือพนักงานสอบสวน ศาลจะลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นก็ได้
๑. การเขียนคำให้การจำเลยที่จะได้รับประโยชน์ตามมาตรา ๑๐๐/๒
คำให้การจำเลยที่จะได้รับประโยชน์ตามมาตรา ๑๐๐/๒ นั้น จะต้องระบุในคำให้การด้วยว่า จำเลยได้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ต่อเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ หรือพนักงานสอบสวน โดยระบุชื่อ ชื่อสกุล ตำแหน่ง สถานที่ทำงานด้วย เพื่อประโยชน์ในกรณีที่ต้องนำเจ้าพนักงานคนนั้นมาเป็นพยานในการสืบพยาน หรือไต่สวน
อนึ่ง มาตรา ๑๐๐/๒ นี้เป็นเหตุลดโทษอย่างหนึ่ง จำเลยกล่าวอ้างเพื่อให้ได้ลดโทษดังกล่าวแล้ว ภาระการพิสูจน์ตกแก่จำเลย
๒. ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งนี้ ต้องให้เมื่อใด
จำเลยจะให้ในระหว่างพิจารณาในศาลชั้นใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็น ศาลชั้นอุทธรณ์ หรือศาลชั้นฎีกา เพราะบทบัญญัติดังกล่าวไม่ได้บัญญัติไว้ว่าต้องข้อมูลเมื่อใด (ต่อมามีคำพิพากษาศาลฎีกาวางหลักว่าตต้องให้ข้อมูลปรากฎในศาลชั้นต้นเท่านั้น)
๓. หลักเกณฑ์ที่ผู้กระทำความผิดจะได้รับประโยชน์จากมาตรา ๑๐๐/๒ จะต้องเป็นการให้ข้อมูลที่สำคัญ และเป็นประโยชน์อย่างยิ่งเท่านั้น หากไม่ใช่ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งจะไม่มีเหตุลดโทษ
๔. กรณีที่ถือว่าเป็นการให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ตามมาตรา ๑๐๐/๒ นั้น คือ
๔.๑ จำเลยให้ข้อมูล หรือภูมิลำเนา ที่อยู่ รูปพรรณสันถาร ยืนยันรูปถ่ายของผู้ว่าจ้างหรือผู้ร่วมกระทำความผิด เป็นผลให้ออกหมายับบุคคลนั้นได้(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๓๑๒/๒๕๔๘ และ ๖๔๐๘/๒๕๔๙)
๔.๒ จำเลยให้ข้อมูลนำไปยึดยาเสพติดของกลางได้เพิ่มขึ้น จากที่ยึดได้ก่อนในตอนแรก จากที่พักหรือที่บ้าน ซึ่งสถานที่ดังกล่าวเจ้าพนักงานไม่สามารถทราบมาก่อน และเป็นการยากที่จะตรวจค้นได้เอง(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๙๒๘/๒๕๔๘)
แต่หากเป็นบ้านหรือที่พักซึ่งมีที่อยู่แน่นอนซึ่งตำรวจต้องไปค้นตามปกติอยู่แล้ว หรือพบกุญแจอยู่ที่ตัวจำเลย ไม่ถือว่าเป็นการให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๐๔๙/๒๕๕๑ และ ๔๘๗๐/๒๕๔๗)
๔.๓ จำเลยให้ข้อมูลแหล่งจำหน่ายจนสามารถจับกุมบุคคลอื่นหรือจำเลยอื่นได้ หรือเป็นสายลับล่อซื้อจนสามารถจับกุมบุคคลอื่นมาดำเนินคดีหรือพบของกลางเพิ่ม(คำพิพา กษาศาลฎีกาที่ ๒๗๖๙/๒๕๕๐)
๕. กรณีที่ไม่ถือว่าเป็นการให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ตามมาตรา ๑๐๐/๒ คือ
๕.๑ จำเลยกล่าวอ้างลอย ๆ ในอุทธรณ์ โดยไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุน (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๗๒๖๔/๒๕๔๗)
๕.๒ ให้ข้อมูลว่าซื้อยาเสพติดมาจากใคร ให้เบอร์โทรศัพท์และนำชี้บ้าน แต่จับตัวบุคคลนั้นไม่ได้(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๗๗๒๖/๒๕๔๗)
๕.๓ จำเลยให้ข้อมูลแล้วแต่จับกุมบุคคลนั้นได้เพียง ข้อหาเสพหรือครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเท่านั้น ซึ่งมีของกลางที่เกี่ยวข้องจำนวนเล็กน้อย (เพระต้องเป็นในลักษณะที่ว่า จับปลาเล็กเพื่อกินปลาใหญ่ หรือ จับปลาใหญ่เพื่อกินปลาใหญ่กว่า)