ถูกฟ้องคดียักยอกทรัพย์ ต้องทำอย่างไร

บทกฎหมาย

มาตรา 352 ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่น เป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคล ที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานยักยอก ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าทรัพย์นั้นได้ตกมาอยู่ในความครอบครองของผู้กระทำความผิด เพราะผู้อื่นส่งมอบให้โดยสำคัญผิดไปด้วยประการใด หรือเป็นทรัพย์ สินหายซึ่งผู้กระทำความผิดเก็บได้ ผู้กระทำต้องระวางโทษแต่เพียง กึ่งหนึ่ง
มาตรา 353 ผู้ใดได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่นหรือ ทรัพย์สินซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย กระทำผิดหน้าที่ของตนด้วย ประการใด ๆ โดยทุจริต จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของผู้นั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 
มาตรา 354 ถ้าการกระทำความผิดตาม มาตรา 352 หรือ มาตรา 353 ได้กระทำในฐานที่ผู้กระทำความผิดเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของ ผู้อื่น ตามคำสั่งของศาล หรือตามพินัยกรรม หรือในฐานเป็นผู้มีอาชีพ หรือธุรกิจ อันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน ผู้กระทำต้องระวาง โทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 
มาตรา 355 ผู้ใดเก็บได้ซึ่งสังหาริมทรัพย์อันมีค่า อันซ่อนหรือฝัง ไว้โดยพฤติการณ์ซึ่งไม่มีผู้ใดอ้างว่าเป็นเจ้าของได้ แล้วเบียดบังเอา ทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือของผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 
มาตรา 356 ความผิดในหมวดนี้เป็นความผิดอันยอมความได้


อายุความฟ้องคดี 3 เดือน นับแต่รู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำผิด
 
มาตรา 96 ภายใต้บังคับ มาตรา 95 ในกรณีความผิดอันยอมความ ได้ถ้าผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความ ผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ มาตรา 97 ในการฟ้องขอให้กักกัน ถ้าจะฟ้องภายหลังการฟ้อง คดีอันเป็นมูลให้เกิดอำนาจฟ้องขอให้กักกัน ต้องฟ้องภายในกำหนด หกเดือนนับแต่วันที่ฟ้องคดีนั้น มิฉะนั้น เป็นอันขาดอายุความ
 
คดียักยอกมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 95 
มาตรา 95 ในคดีอาญา ถ้ามิได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิด มายังศาลภายในกำหนดดังต่อไปนี้ นับแต่วันกระทำความผิดเป็นอัน ขาดอายุความ
(1) ยี่สิบปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุก ตลอดชีวิต หรือจำคุกยี่สิบปี
(2) สิบห้าปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าเจ็ดปีแต่ ยังไม่ถึงยี่สิบปี
(3) สิบปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งปีถึงเจ็ดปี
(4) ห้าปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งเดือนถึง หนึ่งปี
(5) หนึ่งปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งเดือน ลงมาหรือต้องระวางโทษอย่างอื่น
ถ้าได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลแล้ว ผู้กระทำ ความผิดหลบหนีหรือวิกลจริต และศาลสั่งงดการพิจารณาไว้จนเกิน กำหนดดังกล่าวแล้วนับแต่วันที่หลบหนีหรือวันที่ศาลสั่งงดการพิจารณา ก็ให้ถือว่าเป็นอันขาดอายุความเช่นเดียวกัน
หมายเรียกหมายนัดที่ผู้ถูกฟ้องจะไ้ด้รับมี ๒ กรณี คือ

๑.หมายนัดไต่สวนมูลฟ้องคดีอาญา

 

 

เป็นกรณีที่ โจทก์ฟ้องร้องดำเนินคดีด้วยตนเองโดยว่าจ้างทนายความยื่นฟ้องคดีโดยตรงต่อศาล  มิได้ดำเนินการผ่านตำรวจหรือพนักงานสอบสวน

    เมื่อได้รับหมายนัดไต่สวนมูลฟ้องแล้วดูรายละเอียดในหมายว่า ศาลได้กำหนดวันนัดไต่สวนมูลฟ้องในวันใด และคำฟ้องมีสาระสำคัญประการใด ได้กระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ หากท่านประสงค์จะขอประนีประนอมกับโจทก์ ก็สามารถเจรจากันได้ซึ่งหากโจทก์ยินยอมตามที่ตกลงกัน และยินยอมถอนฟ้องคดีก็เป็นอันจบไป ในคดีอาญาที่ไม่มีการแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน  ผู้เสียหายเป็นโจทก์ยื่นฟ้องคดีเอง ตามกฎหมายศาลจะต้องทำการไต่สวนมูลฟ้องเสียก่อนว่าคดีมีมูลหรือไม่ หากมีมูลศาลก็จะประทับฟ้องไว้พิจารณาต่อไป ถ้าศาลไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าคดีไม่มีมูลศาลก็จะมีคำสั่งไม่รับฟ้องของ โจทก์
           หากท่านได้รับหมายนัดจึงต้องดูรายละเอียดว่าศาลกำหนดวันนัดไต่สวนมูลฟ้องวันใด และควรรีบนำสำเนาคำฟ้องข้อเท็จจริงในคดี พร้อมพยานหลักฐานปรึกษาทนายความทันที เพื่อให้ทนายความทำการถามค้านพยานโจทก์ในวันนัดไต่สวนมูลฟ้อง หากคดีไม่มีมูลศาลจะยกฟ้อง โดยในวันนัดไต่สวนมูลฟ้องท่านไม่จำเป็นต้องไปศาล เนื่องจากหากไปศาลในวันดังกล่าว และศาลได้ทำการไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าคดีมีมูล ศาลก็จะประทับฟ้อง ท่านจะตกเป็นจำเลยและถูกควบคุมตัว ซึ่งจะต้องมีการยื่นหลักทรัพย์เพื่อประกันตัวต่อไป

 
๒.หมายเรียกผู้ต้องหา ของพนักงานสอบสวน
กรณีนี้แม้จะยังไม่ใช่หมายศาล แต่ท่านควรจะไปพบพนักงานสอบสวนตามกำหนดนัด หากไม่สามารถไปตามกำหนดนัดได้ เพราะมีเหตุผลอันสมควร ก็อาจจะทำหนังสือถึงพนักงานสอบสวนขอเลื่อนวันเข้าพบออกไปหรือมอบหมายให้ทนายความทำหนังสือขอเลื่อนวันนัดออกไปก่อน  หากท่านไม่ไปตามกำหนดนัดตามหมายเรียก จำนวน ๒ ครั้ง พนักงานสอบสวนอาจขอใหศาลออกหมายจับท่านมาดำเนินคดีต่อไป  ในชั้นสอบสวนหากไม่ได้กระทำความผิดหรือประสงค์จะต่อสู้คดีหรือ ต้องมีทนายเข้าไปดูแลคดี ควารติดต่อทนายความร่วมฟังการสอบสวนหรือให้ปากคำตั้งแต่ชั้นสอบสวนเพราะ คำให้การชั้นสอบสวนนนั้นถือว่าเป็นสาระสำคัญที่จะให้เป็นพยานหลักฐานในชั้นพนักงานอัยการและชั้นพิจารณาคดีของศาล ต่อไป
 
แนวทางแก้ไขในทางปฎิบัติ ของทนายความที่ดูแลคดี
 
๑.ชำระหนี้ และโดยให้ผู้เสียหายหรือโจทก์ ถอนคำร้องทุกข์ หรือถอนฟ้องเมื่อชำระหนี้จนครบถ้วยหรือเป็นที่พอใจ ไม่ว่าด้วยการผ่อนชำระหรือชำระเต็มจำนวน
๒.การรับสารภาพต่อศาลและขอจำหน่ายคดีชั่วคราว ผ่อนชำระหนี้
๓.การต่อสู้คดีเพื่อให้พ้นผิดโดยศาลพิพากษายกฟ้อง
๔.การต่อสู้คดีเพื่อขยายระยะเวลา ในการหาเงินมาชำระหนี้ ซึ่งกระทำโดยทนายความ
๕.ต่อสู้คดีเพื่อให้ผู้ต้องหาหรือจำเลย ยังไม่ต้องรับโทษในระหว่างการพิจารณาคดี
๖.อื่น ๆ แล้วแต่รูปคดี
 
ทนายกอบเกียรติ นบ .นบท . 0864031447
Visitors: 146,740