ได้รับหมายศาลคดีแพ่ง ถูกฟ้องดคีแพ่งต้องทำอย่างไร

หมายศาลในคดีแพ่งมีหลายชนิดประเภทด้วยกัน เช่น หมายเรียกและสไนาคำฟ้อง หมายคำบังคับ หมายแจ้งวันนัดไต่สวนคำร้อง ต่าง ๆ เป็นต้น หน้าที่ของผู้ได้รับหมายจะต่างกันออกไปแล้วแต่กรณี เช่น
 

๑.หมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง
     หมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง หรือหมายเรียกคดีแพ่งสามัญ สำหรับหมายชนิดนี้ จะถูกส่งไปยังผู้รับหมายพร้อมกับสำเนาคำฟ้อง หากได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแล้ว จะต้องทำคำให้การยื่นต่อศาลภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด สำหรับในส่วนหมายเรียกอันเกี่ยวกับคดีแพ่งนั้น แยกออกเป็นดังนี้
หมายเรียกคดีแพ่งสามัญ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๗๗ได้บัญญัติเอาไว้ว่าเมื่อได้ส่งหมายเรียกและคำฟ้องให้จำเลยแล้ว ให้จำเลยทำคำให้การเป็นหนังสือยื่นต่อศาลภายในสิบห้าวัน” ดังนั้น หากท่านถูกฟ้องเป็นจำเลยหน้าที่ต้องทำคำให้การเป็นหนังสือยื่นต่อศาลภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับหมาย  แต่หากท่านไม่ได้เซ็นต์รับหมายศาลจะทำการปิดหมายไว้ ณ ภูมิลำเนาของจำเลย ซึ่งจะถือว่าจำเลยได้รับหมายเรียกเมื่อพ้นกำหนด ๑๕ วันนับแต่วันปิดหมาย ( ๑๕ บวก ๑๕ ) จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องยื่นคำให้การต่อสู้คดีภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ปิดหมาย
 หากจำเลยมิได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีภายในกำหนด จะหมดสิทธิในการต่อสู้คดี อันมีผลให้แพ้คดีโดยขาดนัดยื่นคำให้การ โดยศาลจะตัดสินคดีโจทก์ไปผ่ายเดียว และจะมีคำพิพากษาและโจทก์จะดำเนินการบังคับคดีต่อไป


๒.หมายเรียกคดีมโนสาเร่หมายเรียกคดีไม่มีข้อยุ่งยากหมายเรียกจำเลยในคดีผู้บริโภค
     หากท่านได้รับหมายเรียกดังกล่าวมาแล้วข้างต้นนี้ ท่านมีหน้าที่ต้องยื่นคำให้การและมาศาลตามวันนัดที่ได้ระบุไว้ในหมายเพื่อการไกล่เกลี่ย ให้การ และสืบพยาน และหากท่านมีความประสงค์จะต่อสู้คดีก็จะต้องให้การแก้คดีภายในวันนัดที่ระบุในหมาย  ซึ่งถือเป็นวันนัดพิจารณาครั้งแรกด้วย หากท่านไม่ไปศาลในวันพิจารณา ศาลอาจถือว่าท่านขาดนัดยื่นคำให้การ หรือขาดนัดพิจารณา แล้วแต่กรณี ซึ่งจะมีผลทำให้ท่านเป็นฝ่ายแพ้คดี โดยศาลจะตัดสินคดีโจทก์ไปผ่ายเดียว และจะมีคำพิพากษาและบังคับคดีต่อไป ดังนั้น หากท่านได้รับหมายศาลดังกล่าวแล้ว ควร จะรีบติดต่อทนายความเพื่อช่วยดูแลคดี และทำคำให้การต่อสู้คดี ให้ทันตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดต่อไป

 
๓.หมายคำบังคับให้ปฎิบัติตามคำพิพากษา
    หมายคำบังคับให้ปฎิบัติตามคำพิพากษา เช่นให้ชำระหนี้ภายใน ๑๕ วัน นับแต่ได้รับหมาย ดังนี้หากจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ชำระหนี้ภายในเวลาที่ศาลกำหนด โจทก์หรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็จะดำเนินการ ขอให้ศาลออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี ทำการยึดหรืออายัดทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้อง เป็นขั้นตอนต่อไป    
 

๔.หมายเรียกให้ส่งพยานเอกสารหรือพยานวัตถุ

๑.) เมื่อได้รับหมายเรียกให้ส่งเอกสารหรือวัตถุที่อยู่ในความครอบครองต่อ ศาล ท่านจะต้องจัดเตรียมเอกสารหรือวัตถุตามที่ระบุในหมายเรียกหรือคำสั่งศาลและ ส่งมายังศาลที่ออกหมาย ให้ครบถ้วนภายในกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในหมายเรียกนั้น
๒.) หากมีเหตุขัดข้องไม่สามารถส่งเอกสารหรือวัตถุภายในกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในหมายเรียกหรือคำสั่งศาลบ้างให้แจ้งเหตุขัดข้องดังกล่าวเป็นหนังสือต่อศาลก่อนครบกำหนดระยะเวลา และตั้งศูนย์ประสานงานพยานของศาล
.) เมื่อผู้ครอบครองวัตถุหรือเอกสารได้รับหมายเรียกหรือคำสั่งศาลแล้วหากขัดขืนไม่ส่งเอกสารหรือพยานวัตถุดังกล่าวอาจต้องระวังโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกิน 10,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 170  ซึ่งหากผู้ครอบครองวัตถุหรือเอกสารได้รับการจูงใจคำมั่นสัญญาหรือขู่เข็ญหรือหลอกลวงหรือการกระทำใดๆในทางที่จะก่อให้เกิดอันตรายประการอื่น  ให้ส่งเอกสารหรือวัตถุ นั้นต่อศาล  สามารถติดต่อไปยังศูนย์ประสานงานพยานของศาลเพื่อจะประสานและศาลอาจจะแก้ไขเหตุขัดข้องดังกล่าวให้กับท่าน

 

๕.หมายเรียกพยานบุคลให้เป็นพยาน

๑).เหมือนท่านได้รับหมายเรียกให้มาเป็นพยานที่ศาลแล้วท่านควรตรวจสอบหมายเรียกให้แน่ชัดว่าต้องเดินทางไปเบิกความที่ศาลใดคดดีอะไรวันเวลาใดรวมทั้งตรวจสอบที่ตั้งศาล
๒.)เมื่อถึงวันนัดตามหมายนัดให้ท่านมาศาลตามกำหนดอย่างเคร่งครัดหากท่านไม่สามารถมาศาลตามกำหนดนัดได้จะต้องแจ้งเหตุขัดข้องต่อศูนย์ประสานงานพยานก่อนวันนัดพิจารณา โดยทันที  หากเกิดเหตุจำเป็นเร่งด่วน
๓.) หากท่านจงใจไม่มาศาลโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร  ศาลอาจออกหมายจับท่านมากักขังจนกว่าจะเบิกความในวันเวลาที่เห็นสมควรได้  โดยเหตุที่ศาลอาจไม่รับฟังเป็นข้ออ้างในการไม่มาศาล เช่น มีความเจ็บป่วยที่ไม่ร้ายแรงมีธุระ หรือติดประชุมหรือติดงานโดยไม่ปรากฏเหตุผลจำเป็น มีราชการซึ่งไม่ปรากฎหลักฐานว่าเป็นราชการสำคัญ หรือ รอการอนุมัติจากนายจ้างหรือผู้บังคับบัญชาให้ไปเบิกความโดยที่ศาลได้มีหมายแจ้งล่วงหน้าเป็นเวลานานแล้ว เป็นต้น

ได้รับหมายศาลติดต่อทนาย 

 โทร : 086-403-1447

ไลน์ไอดี : kobkiatlaw

แสกนคิวอาร์โค้ด

 

 

ไลน์ @ สำนักงาน

 

Visitors: 148,630