ทนายความคดียักยอกทรัพย์
ความผิดฐานยักยอก / อัตราโทษ
มาตรา 352 ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่น เป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคล ที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานยักยอก ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าทรัพย์นั้นได้ตกมาอยู่ในความครอบครองของผู้กระทำความผิด เพราะผู้อื่นส่งมอบให้โดยสำคัญผิดไปด้วยประการใด หรือเป็นทรัพย์ สินหายซึ่งผู้กระทำความผิดเก็บได้ ผู้กระทำต้องระวางโทษแต่เพียง กึ่งหนึ่ง
องค์ประกอบของกฎหมายแยกได้ดังนี้
องค์ประกอบภายนอก
๑. ผู้ใด ครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ๒. เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สาม
องค์ประกอบภายใน
๑. เจตนา ๒. เจตนา โดยทุจริต
มาตรา 353 ผู้ใดได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่นหรือ ทรัพย์สินซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย กระทำผิดหน้าที่ของตนด้วย ประการใด ๆ โดยทุจริต จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของผู้นั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 354 ถ้าการกระทำความผิดตาม มาตรา 352 หรือ มาตรา 353 ได้กระทำในฐานที่ผู้กระทำความผิดเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของ ผู้อื่น ตามคำสั่งของศาล หรือตามพินัยกรรม หรือในฐานเป็นผู้มีอาชีพ หรือธุรกิจ อันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน ผู้กระทำต้องระวาง โทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 355 ผู้ใดเก็บได้ซึ่งสังหาริมทรัพย์อันมีค่า อันซ่อนหรือฝัง ไว้โดยพฤติการณ์ซึ่งไม่มีผู้ใดอ้างว่าเป็นเจ้าของได้ แล้วเบียดบังเอา ทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือของผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
อายุความฟ้องคดี 3 เดือน นับแต่รู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำผิด
มาตรา 96 ภายใต้บังคับ มาตรา 95 ในกรณีความผิดอันยอมความ ได้ถ้าผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความ ผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ มาตรา 97 ในการฟ้องขอให้กักกัน ถ้าจะฟ้องภายหลังการฟ้อง คดีอันเป็นมูลให้เกิดอำนาจฟ้องขอให้กักกัน ต้องฟ้องภายในกำหนด หกเดือนนับแต่วันที่ฟ้องคดีนั้น มิฉะนั้น เป็นอันขาดอายุความ
ความผิดฐานยักยอกจะต้องมีการครอบครองทรัพย์ไว้แทนผู้เสียหาย และเบียดบังไปเป็นของตน ถ้าไม่ครอบครองไม่ผิดฐานยักยอกแต่อาจผิดอย่างอื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๕๓๐/๒๕๓๔ ขณะโจทก์ร่วมถูกฟ้องคดีอาญา จำเลยรับฝากทรัพย์สิ่งของและเงินไว้จากโจทก์ร่วมหลังจากโจทก์ร่วมพ้นคดีแล้ว โจทก์ร่วมทวงทรัพย์สินที่ฝากไว้คืนจากจำเลยแต่จำเลยไม่คืนให้ เงินที่โจทก์ร่วมฝากไว้จำเลยผู้รับฝากมีสิทธินำออกใช้อย่างไรก็ได้หากจำต้องคืนแก่โจทก์ให้ครบตามจำนวนเท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตการที่จำเลยนำเงินที่รับฝากนั้นออกใช้หรือไม่คืนให้ เมื่อถูกทวงถามจึงไม่เป็นความผิดฐานยักยอก ส่วนทรัพย์สินอื่นเมื่อโจทก์ร่วมทวงถามแล้ว จำเลยไม่คืนให้โดยเจตนาทุจริต จึงเป็นความผิดฐานยักยอก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1330/2539 จำเลยที่1 ขอสลากกินแบ่งรัฐบาลจากโจทก์ไปตรวจกับผลการออกรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาลที่จำเลยที่2จดไว้แล้วไม่คืนให้โจทก์กลับนำไปมอบให้ธนาคารขอรับเงินรางวัลแทนและนำเงินมาเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยที่2และ ท. ซึ่งเป็นภริยาของจำเลยที่2และมารดาจำเลยที่1ที่ธนาคารดังกล่าวอันเป็นการเบียดบังเอาสลากกินแบ่งรัฐบาลฉบับพิพาทและเงินรางวัลที่ได้รับมาเป็นของตนและของบุคคลอื่นโดยทุจริตการกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดฐานยักยอก จำเลยทั้งสองฉวยโอกาสจากการที่เป็นบุคคลในครอบครัวเดียวกันและใกล้ชิดสนิทสนมกับโจทก์ยักยอกเอาสลากกินแบ่งรัฐบาลฉบับพิพาทซึ่งถูกรางวัลที่1เป็นจำนวนเงินถึง6,000,000บาทอันนับได้ว่าเป็นโชคลาภสูงสุดของโจทก์ไปเป็นประโยชน์ส่วนตนและบุคคลอื่นโดยทุจริตด้วยความละโมบโลภมากไม่คำนึงถึงบาปบุญคุณโทษและศีลธรรมอันดีอีกทั้งยังขาดเมตตาธรรมต่อโจทก์ผู้ที่ควรจะได้รับประโยชน์และความสุขจากโชคลาภดังกล่าวจนกระทั่งในที่สุดโจทก์ถึงแก่ความตายเพราะถูกฆ่าในระหว่างพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นตาม พฤติการณ์แห่งคดีจึงไม่มีเหตุที่จะลงโทษจำเลยทั้งสองในสถานเบา
เมื่อถูกฟ้องเป็นจำเลย ไปศาลมีแนวทางในทางปฎิบัติ ของศาล จำเลยและทนายความในคดียักยอกทรัพย์ในชั้นศาล อย่างไรบ้างมีดังนี้ เช่น
๑ การชำระหนี้ และโดยให้ผู้เสียหายหรือโจทก์ ถอนคำร้องทุกข์ หรือถอนฟ้องเมื่อชำระหนี้จนครบถ้วนหรือเป็นที่พอใจ ไม่ว่าด้วยการผ่อนชำระหรือชำระเต็มจำนวน
๒.การรับสารภาพต่อศาล และขอจำหน่ายคดีชั่วคราว เพื่อผ่อนชำระหนี้จนครบและให้โจทก์ถอนฟ้องเมื่อชำระเงินครบ
๓.การต่อสู้คดีว่ามิได้กระทำผิดโดยให้การปฎิสเธและ การสืบพยานให้ศาลพิพากษายกฟ้อง
๔.การยื่นคำให้การต่อสู้คดีเพื่อขยายระยะเวลาในการรวบรวมเงิน เพื่อชำระหนี้โจกท์ หรือ บรรเทาผลร้ายให้ศาลพิพากษาลงโทษสถานเยาหรือรอการลงโทษ
๕.การยื่นอุทธรณ์-ฎีกาคำพิพากษา เพื่อชำระเงินเพิ่มเติมหรือไกล่เกลี่ยในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา
๖.การไกล่เกลี่ยในศาล